วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การใช้โปรแกรม Miciosoft Excel

โปรแกรม Microsoft Excel เป็นโปรแกรมที่เหมาะกับงานทางด้าน การคำนวณ การตีตาราง การหาค่าสูตรต่าง ๆ ตลอดจนสามารถนำข้อมูล ไปสร้างเป็นกราฟ เพื่อแสดงแผนภูมิต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งถ้าเรามีการเปลี่ยนแปลงตัวเลขใด ๆ โปรแกรมก็จะทำการคำนวณ สูตรที่เชื่อมโยงกับตัวเลขนั้น ๆ ให้โดยอัตโนมัติ


การเข้าสู่โปรแกรม Microsoft Excel

1. คลิ๊กที่ปุ่ม Start

2. เลื่อนขึ้นไปที่หัวข้อ Program

3. เลื่อนมาด้านขวา คลิ๊กที่โปรแกรม Microsoft Excel


ส่วนประกอบต่าง ๆ ของหน้าจอโปรแกรม Microsoft Excel

1. เมื่อเปิดโปรแกรมมาแล้ว จะเห็นว่าหน้าจอจะตีตารางเป็นช่อง ๆ เราเรียกว่า กระดาษทำการ Work Sheet

2. ด้านบนที่เห็นเป็นตัวอักษร A , B , C , D , E , …….. เป็นการแบ่งแนวตั้งเราเรียกว่า คอลัมน์ Column

3. ด้านซ้ายที่เห็นเป็นตัวเลข 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , ………… เป็นการแบ่งแนวนอนเราเรียกว่า แถว Row

4. จุดตัดระหว่าง คอลัมน์ กับ แถว เราเรียกว่า เซลล์ Cell

5. ที่ Cell A1 จะมีกรอบสีดำเข้ม สามารถเลื่อนไปยัง Cell ต่าง ๆ ได้ เราเรียกว่า ตัวชี้ตำแหน่งเซลล์ ปัจจุบันที่ใช้งานอยู่ Cell Pointer

การเลื่อน Cell Pointer

1. ใช้เม้าส์คลิ๊กที่ เซลล์ ที่เราต้องการเลื่อน

2. ใช้ลูกศร สี่ทิศ ที่แป้นพิมพ์ในการเลื่อน

3. ใช้ปุ่ม Ctrl + Home เพื่อเลื่อนกลับมาที่ เซลล์ A1

4. ใช้ปุ่ม Ctrl + ลูกศร ขวา เพื่อเลื่อนมา คอลัมน์ ขวาสุด

5. ใช้ปุ่ม Ctrl + ลูกศร ลง เพื่อเลื่อนลงมาบรรทัดสุดท้าย

6. ใช้ปุ่ม Page Up หรือ Page Down เพื่อ เลื่อน ขึ้น หรือ ลง ทีละ 1 หน้าจอภาพ


การพิมพ์ข้อมูลลงใน Cell

1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ ที่ต้องการจะป้อนข้อมูล

2. พิมพ์ข้อมูลที่ต้องการ

3. กดปุ่ม Enter หรือ ใช้ลูกศร ที่แป้นพิมพ์เพื่อ เลื่อนไปทางขวา หรือ ขึ้น ลง ได้


การลบข้อมูลในเซลล์

1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ ที่ต้องการจะลบ

2. กดปุ่ม Delete ที่แป้นพิมพ์


การแก้ไขข้อมูล

1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ ที่ต้องการจะแก้ไขข้อมูล

2. กดปุ่ม F2 ที่แป้นพิมพ์

3. ทำการแก้ไขข้อมูล (สามารถใช้ลูกศร ซ้าย – ขวา ที่แป้นพิมพ์ในการเลื่อนเคอร์เซอร์ได้)

4. เสร็จการแก้ไขข้อมูล โดยการกดปุ่ม Enter


การย้ายข้อมูล (Move)

1. เลื่อนเซลล์ไปยังเซลล์ที่จะย้ายข้อมูล

2. นำเม้าส์มาแตะที่ขอบของ Cell Pointer เม้าส์จะเปลี่ยนจากรูป บวก ที่เป็นกาชาด มาเป็นลูกศร

3. กดปุ่มซ้ายของเม้าส์ ค้างไว้ เลื่อน เซลล์ได้เลย


การคัดลอกข้อมูล (Copy)

1. เลื่อนเซลล์ไปยังเซลล์ที่จะคัดลอกข้อมูล

2. นำเม้าส์มาแตะที่จุดสี่เหลี่ยมสีดำตรงมุมขวาล่างของ Cell Pointer เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมายบวก

สีดำ

3. กดปุ่มซ้ายของเม้าส์ค้างไว้ แล้วเลื่อนไปยังเซลล์ที่จะคัดลอกไปได้เลย

การปรับความกว้างของคอลัมน์

1. เลื่อนเม้าส์ไปชี้ที่เส้นแบ่งระหว่างคอลัมน์ (เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปลูกศรสีดำ ซ้าย – ขวา)

2. กดเม้าส์ค้างไว้ แล้วลากเม้าส์เพื่อปรับความกว้าง หรือจะดับเบิ้ลคลิ๊ก เพื่อให้เครื่อง

ปรับความกว้างอัตโนมัติ


การเขียนสูตรเพื่อทำการคำนวณในเอ็กเซล

1. คลิ๊กที่เซลล์ที่ต้องการจะคำนวณ

2. กดเครื่องหมาย เท่ากับ = เพื่อให้เอ็กเซลทราบว่า ช่องนี้ต้องการทำการคำนวณ

3. พิมพ์สูตรที่ต้องการคำนวณลงไป เช่น พิมพ์ว่า =D3*3% (D3 คือ เซลล์ที่เก็บตัวเลขที่เราจะดึงมาทำการคำนวณ)

4. เมื่อพิมพ์สูตรเสร็จแล้ว ให้กดปุ่ม Enter เครื่องจะทำการคำนวณคำตอบให้


การคัดลอกสูตร (Copy สูตร)

1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ที่จะคัดลอกสูตร

2. เลื่อนเม้าส์มาชี้ที่จุดสี่เหลี่ยมสีดำ ด้านล่างขวาของกรอบสีดำ เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมาย บวก สีดำ

3. กดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ ค้างไว้ แล้วเลื่อนเม้าส์ลงมาเรื่อยจนครบทุกช่องที่จะก๊อปปี้


4. เมื่อปล่อยเม้าส์ เครื่องก็จะทำการคำนวณทุกช่องให้เอง


ถ้าทำการก๊อปปี้แล้วตัวเลขเกิดรางรถไฟขึ้นมา ############## ความหมายคือความกว้างไม่พอ

1. เลื่อนเม้าส์ไปที่เส้นแบ่งระหว่างคอลัมน์ ที่เราจะปรับด้านบน (เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูป ลูกศรสีดำ

ซ้าย – ขวา)

2. ดับเบิ้ลคลิ๊ก เพื่อปรับความกว้างอัตโนมัติ


การคำนวณหายอดรวม

1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ที่ต้องการจะหายอดรวม

2. ด้านบน คลิ๊กที่ปุ่ม ซิกม่า (เป็นรูปตัว S )

3. จากนั้นที่เซลล์ จะมีคำสั่งให้ว่า =SUM(ตามด้วยกลุ่มเซลล์)

4. กดปุ่ม Enter เครื่องจะคำนวณหาคำตอบให้


การผสานเซลล์ให้เป็นช่องเดียวกัน จะใช้ในกรณีที่ต้องการให้ข้อความจัดกลางระหว่างคอลัมน์ หลาย ๆ คอลัมน์ เช่น ต้องการให้ชื่อบริษัท ในบรรทัดแรกอยู่ตรงกลางระหว่าง คอลัมน์ A ถึงคอลัมน์ F

วิธีการคือ

1. นำเม้าส์ไปวางที่เซลล์ A1 จากนั้นกดเม้าส์ค้างไว้ ลากมาทางขวาจนถึงคอลัมน์ F1

2. ด้านบน คลิ๊กที่ปุ่ม a เล็ก (ถ้าเลื่อนเม้าส์ไปวางไว้ จะมีคำว่า ผสานและจัดกึ่งกลาง)

3. เครื่องจะทำการผสานเซลล์ แล้วนำข้อความมาจัดกลางให้


การให้เครื่องใส่หมายเลขลำดับที่ต่อเนื่องกันไป เช่น ต้องการให้ลำดับที่เป็น 1 , 2 , 3 , 4 , ไปเรื่อย ๆ


1. คลิ๊กที่เซลล์ที่ต้องการจะเริ่มเลข 1

2. ใส่เครื่องหมายฟันเดียว ‘ ตรงแป้นพิมพ์อักษร ง ไม่ต้องยกแคร่ พิมพ์เลข 1 แล้วกด Enter

3. เลข 1 จะชิดด้านซ้าย เลื่อนเซลล์กลับมาที่เลข 1 ทำการก๊อปปี้ (เลื่อนเม้าส์ ชี้ ตรงจุดสี่เหลี่ยมสีดำตรงมุมล่างขวา เม้าส์จะเปลี่ยนรูปเป็นเครื่องหมาย บวก สีดำ กดเม้าส์ค้างไว้ แล้วลากเม้าส์ลงมาตามต้องการ พอปล่อยเม้าส์ เครื่องจะใส่ตัวเลขเรียงลำดับให้เอง)


การตีตาราง

1. ลากเม้าส์คลุมเซลล์ที่เราต้องการจะตีตาราง

2. ด้านบนที่แถบเครื่องมือบรรทัดที่สอง (แถบจัดรูปแบบ) นับจากด้านหลังปุ่มที่ 3 จะเป็นปุ่มเส้นขอบ ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมเล็ก ๆ หลังปุ่มเส้นขอบ

3. เครื่องจะมีเส้นขอบให้เลือก ให้เลือกปุ่มที่อยู่ในบรรทัดที่ 3 ปุ่มที่ 2 เครื่องจะมีคำว่า เส้นขอบทั้งหมด

4. เครื่องจะตีตารางให้ คลิ๊กเม้าส์ที่เซลล์ไหนก็ได้ เพื่อยกเลิกแถบที่เราลากไว้


การ Save ข้อมูล จะแบ่งเป็น 2 กรณี


ถ้าเป็นการ Save ครั้งแรก หมายถึง เพิ่งพิมพ์งานใหม่

1. คลิ๊ก เมนู แฟ้ม

2. ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง บันทึกเป็น (Save As)

3. จะขึ้นหน้าต่าง Save As จากนั้นในช่องชื่อแฟ้ม เครื่องจะนำเอาบรรทัดแรกที่เราพิมพ์ มาเป็นชื่อแฟ้ม แต่ถ้าเราไม่เอาชื่อแฟ้มนั้นก็ ลบทิ้ง พิมพ์ชื่อแฟ้มที่ต้องการลงไปแล้ว คลิ๊กปุ่ม บันทึก


ถ้าเป็นการ Save งานเดิม หมายถึง เรียกขึ้นมาเพื่อแก้ไข แล้วจะ Save ที่เราแก้ไข

1. คลิ๊ก เมนู แฟ้ม

2. ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง บันทึก (Save)

3. ตรงนี้เครื่องจะไม่ขึ้นหน้าต่าง ใด ๆ เลย เครื่องจะทำการ Save ลงที่แฟ้มเดิมที่เราเรียกใช้อยู่ เพราะเครื่องทราบว่าจะ Save ที่แฟ้มใดอยู่แล้ว


การยกเลิกเส้นตารางบางส่วนที่เราตีไปแล้ว

1. นำเม้าส์มา ลาก ส่วนที่เราจะยกเลิกเส้นตาราง

2. นำเม้าส์มาวางอยู่ในแถบที่เราลาก

3. คลิ๊กปุ่มขวาของเม้าส์เพื่อเข้าวิธีลัด

4. เครื่องจะปรากฏคำสั่งต่าง ๆ ให้เราลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง จัดรูปแบบเซลล์

5. เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบเซลล์ ด้านบน ให้คลิ๊กที่หัวข้อ เส้นขอบ

6. ในช่อง เส้น , ลักษณะ ด้านขวา ให้คลิ๊กที่คำว่า ไม่มี

7. ด้านซ้ายในช่อง เส้นขอบ ให้คลิ๊กเส้นที่เราต้องการจะเอาออก

8. ด้านล่างคลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง


การเปลี่ยนตัวอักษร ขนาด ลักษณะตัวอักษร สี

1. นำเม้าส์มาลากยังเซลล์ที่ต้องการจะเปลี่ยน

2. ด้านบนที่แถบเครื่องมือบรรทัดที่ 2 (แถบจัดรูปแบบ)

3. ช่องที่ 1 ที่มีคำว่า Cordia New ช่องนี้คือแบบอักษร ถ้าเราจะเปลี่ยนแบบอักษร ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังคำว่า Cordia New จากนั้นเลือกตัวอักษรที่เราต้องการ โดยต้องเลือกตัวอักษรที่มีคำว่า New หรือ UPC อยู่หลังแบบอักษร เพราะแบบอักษรนี้จะใช้ได้กับภาษาไทย

4. ช่องที่ 2 ที่มีตัวเลขเป็น 14 ช่องนี้คือ ขนาดของตัวอักษร ถ้าเราจะเปลี่ยนก็ให้คลิ๊กที่ปุ่ม สามเหลี่ยมสีดำ หลังเลข 14 แล้วเลือกขนาดได้ตามใจชอบ

5. ช่องที่ 3 จะเป็นตัวอักษร B ถ้าเราคลิ๊กลงไปจะได้ตัวอักษร หนาขึ้น ถ้าไม่เอา ให้คลิ๊กซ้ำลงไป


6. ช่องที่ 4 จะเป็นตัวอักษร I จะเป็นการทำตัวเอียง

7. ช่องที่ 5 จะเป็นตัวอักษร U จะเป็นการทำตัวขีดเส้นใต้

8. ช่องสุดท้าย จะเป็นตัวอักษร A จะเป็นการเลือกสีตัวอักษร ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังตัว A จะมีสีต่าง ๆ ให้เลือก ถ้าเราไม่เอาสีนั้นแล้วให้คลิ๊กที่คำว่า อัตโนมัติ

9. ช่องที่อยู่หน้าปุ่ม A ที่เป็นรูปกระป๋องสี คือการใส่สีพื้น ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังกระป๋องสี จะมีสีพื้นต่าง ๆ ให้เลือก แต่ถ้าเราเลือกไปแล้วจะไม่เอาสีพื้น ให้คลิ๊กที่คำว่า ไม่เติม

10. เมื่อเปลี่ยนเรียบร้อยแล้ว ให้นำเม้าส์คลิ๊กที่เซลล์ไหนก็ได้เพื่อยกเลิกแถบ


การคำนวณหาค่าต่าง ๆ

1. คลิ๊กที่เซลล์ที่เราจะเก็บคำตอบ

2. ด้านบนคลิ๊กที่ปุ่ม วางฟังก์ชั่น (อยู่ข้าง ๆ ปุ่มซิกม่าที่เป็นรูป fx)

3. เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง วางฟังก์ชั่น

4. เลือกคำสั่งที่เราจะทำการคำนวณ

5. ด้านล่างคลิ๊กปุ่ม ตกลง

6. เครื่องจะขึ้นหน้าต่างเพื่อให้เราใส่กลุ่มเซลล์ที่เราต้องการจะทำการคำนวณ เช่น ถ้าเราต้องการหาค่าตั้งแต่ เซลล์ D3 ถึง เซลล์ D7 เราต้องพิมพ์ว่า D3:D7 ใช้เครื่องหมายคอลอนคั่น : จากนั้นด้านล่างคลิ๊กปุ่ม ตกลง เครื่องก็จะทำการคำนวณในเซลล์นั้นให้


คำสั่งที่ใช้ในการหาค่าต่าง ๆ

ต้องการหาค่าเฉลี่ย ใช้คำสั่ง AVERAGE

ต้องการหาค่าสูงสุด ใช้คำสั่ง MAX

ต้องการหาค่าต่ำสุด ใช้คำสั่ง MIN

ต้องการให้เครื่องตรวจสอบข้อมูล จริง กับ เท็จ ใช้คำสั่ง IF

ต้องการให้เครื่องเปลี่ยนเลขเป็นตัวอักษร ใช้คำสั่ง BAHTTEXT


การสร้างกราฟ (Graph) คือ การนำตัวเลข มาสร้างเป็นกราฟเพื่อสรุปเป็นแผนภูมิ

1. นำเม้าส์มาลากข้อมูลในแกน X เช่น ลากตั้งแต่เซลล์ B3 ถึง B7

2. นำเม้าส์มาลากข้อมูลในแกน Y เช่น ลากตั้งแต่เซลล์ D3 ถึง D7 ต้องกดปุ่ม Ctrl + ลากเม้าส์

3. ด้านบนที่แถบเครื่องมือที่ 1 ให้คลิ๊กปุ่ม ตัวช่วยสร้างแผนภูมิ (ที่เป็นรูปกราฟแท่ง)

4. เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง ตัวช่วยสร้างแผนภูมิ ขั้น ที่ 1 จาก 4 – ชนิดแผนภูมิ

5. เครื่องจะถามทั้งหมด 4 ขั้นตอน ในขั้นตอนที่ 1 นี้เป็นการให้เราเลือกชนิดของกราฟที่เราต้องการสร้าง โดยด้านซ้าย คือ ชนิดของกราฟ มีทั้งกราฟ คอลัมน์ , กราฟแท่ง , กราฟเส้น , กราฟวงกลม เราก็คลิ๊ก ชนิดของกราฟที่เราต้องการลงไป ส่วนด้านขวาเป็นการเลือกแบบของกราฟ ว่าเราอยากได้กราฟแบบไหน เราก็คลิ๊กลงไป จากนั้น ด้านล่าง คลิ๊กที่ปุ่ม ถัดไป เพื่อไปสู่ขั้นตอนที่ 2

6. ในขั้นตอนที่ 2 เครื่องจะสร้างกราฟชนิดที่เราต้องการไว้ ตามที่เราลากข้อมูลแกน X และ Y ซึ่งในหน้าต่างขั้นที่ 2 นี้เราไม่ต้องทำอะไรเลย ให้ลงไปคลิ๊กที่ปุ่ม ถัดไป ด้านล่างได้เลย

7. ในหน้าต่างขั้นตอนที่ 3 นี้ จะเป็นการใส่สิ่งที่เครื่องไม่ได้ทำมาให้คือ

a. ด้านบนยังไม่มีคำอธิบายกราฟ วิธีใส่ก็คือ ด้านซ้ายให้คลิ๊กที่ช่อง ชื่อแผนภูมิ จะมีเคอร์เซอร์ เราก็พิมพ์ลงไป เช่น กราฟแสดงเงินเดือน (เมื่อพิมพ์เสร็จนั่งสักพัก เครื่องจะไปใส่ในกราฟด้านขวาให้เราเอง โดยไม่ต้องกดปุ่ม Enter)

b. ในกราฟแต่ละแท่งเครื่องยังไม่ได้บอกค่าว่าแต่ละแท่งมีค่าเท่าไหร่ วิธีการให้เครื่องแสดงค่าออกมาคือ ด้านบน ให้คลิ๊กที่หัวข้อ ป้ายชื่อข้อมูล และด้านซ้าย คลิ๊กที่ช่อง แสดงค่า


เสร็จแล้วด้านล่าง ให้คลิ๊กที่ปุ่ม ถัดไป เพื่อไปยังขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนสุดท้าย

8. ในขั้นตอนที่ 4 ให้คลิ๊กที่คำว่า เป็นแผ่นงานใหม่ แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม เสร็จสิ้น เครื่องก็จะสร้างกราฟเสร็จเรียบร้อยตามที่เราต้องการ


การตกแต่งกราฟ

1. ถ้าต้องการเปลี่ยนสีของแท่งกราฟ


a. คลิ๊กที่แท่งแรกของกราฟ (จะขึ้นจุดสี่เหลี่ยมสีดำ แต่จะขึ้นทุกแท่ง) ให้คลิ๊กที่แท่งแรกของกราฟอีกครั้งนึง (จะขึ้นจุดสี่เหลี่ยมสีดำ ที่แท่งแรกเท่านั้น)


b. ให้นำเม้าส์วางที่แท่งแรกเหมือนเดิม แล้ว ดับเบิ้ลคลิ๊ก


c. จะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบจุดข้อมูล


d. คลิ๊กที่ช่องตารางสีที่เราต้องการจะเปลี่ยน


e. ด้านล่างคลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง


f. จากนั้น ก็เลื่อนเม้าส์ไปวางแท่งที่ 2 แล้วดับเบิ้ลคลิ๊กได้เลย เปลี่ยนสีจนครบ


2. ถ้าต้องการเปลี่ยนสีที่ด้านหลังของแท่ง


a. เลื่อนเม้าส์ไปวางที่ด้านหลังของแท่ง (จะมีคำขึ้นมาว่า ผนัง)


b. ดับเบิ้ลคลิ๊กสองที


c. จะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบจุดข้อมูล ตรงนี้ถ้าเราอยากได้ สีผสมของเครื่องให้คลิ๊กที่ปุ่ม เติมลักษณะพิเศษ จะขึ้นหน้าต่าง การเติมลักษณะพิเศษ ขึ้นมาอีกหน้าต่าง จากนั้น ให้คลิ๊กที่คำว่า สีที่กำหนดไว้ ด้านขวาจะมีช่อง สีที่กำหนดไว้ เพิ่มขึ้นมา ในแถบจะมีคำว่า ก่อนอาทิตย์ตก แล้วด้านล่างจะมีสีตัวอย่างว่า ก่อนอาทิตย์ตก มีแบบไหนบ้าง ถ้ายังไม่ถูกใจ ให้คลิ๊กที่ปุ่ม สามเหลี่ยมด้านหลัง จะมีชื่อสีสำเร็จรูปต่าง ๆ เราก็คลิ๊กไป แล้วด้านล่าง จะแสดงสีของชื่อนั้น ถ้าเราถูกใจ ด้านขวาให้คลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง เครื่องจะกลับมาที่หน้าต่าง แรก ให้เราคลิ๊กปุ่ม ตกลงด้านล่างอีกทีเครื่องก็จะใส่สีของผนังที่เราเลือกไว้


d. ถ้าเราต้องการจะเปลี่ยนสีของฐานของแท่ง ก็ทำเหมือนกัน คือ ให้เม้าส์ชี้ที่ด้านล่างระหว่างแท่ง เครื่องจะขึ้นคำว่า พื้น จากนั้นก็ดับเบิ้ลคลิ๊กทำตามขั้นตอนด้านบนอีกที


3. ถ้าต้องการเปลี่ยนสีด้านนอกของกราฟ


a. ให้เลื่อนเม้าส์ไปวางตรงมุมบนขวาภายนอกของกราฟ จะขึ้นคำว่า พื้นที่แผนภูมิ


b. ดับเบิ้ลคลิ๊กสองที จะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบพื้นที่แผนภูมิ


c. ลงมาคลิ๊กที่ปุ่ม เติมลักษณะพิเศษ จะขึ้นหน้าต่างซ้อนขึ้นมา ชื่อว่า เติมลักษณะพิเศษ


d. ด้านบน คลิ๊กที่หัวข้อ พื้นผิว เครื่องจะขึ้นพื้นผิวต่าง ๆ ให้เราเลือก เมื่อเลือกเสร็จแล้ว ให้คลิ๊กที่ปุ่ม ตกลงด้านขวามือ เครื่องจะกลับมาที่หน้าต่างแรก ด้านล่างให้คลิ๊กที่ปุ่ม ตกลงอีกที

จริยธรรมและความปลอดภัย

เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่จำเป็นต้องพิจารณา รวมทั้งเรื่องความปลอดภัย ของระบบสารสนเทศการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หากไม่มีกรอบจริยธรรมกำกับไว้แล้ว สังคมย่อมจะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาไม่สิ้นสุด รวมทั้งปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้วย ดังนั้นหน่วยงานที่ใช้ระบบสารสนเทศจึงจำเป็นต้องสร้างระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว

ประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรม
คำจำกัดความของจริยธรรมมีอยู่มากมาย เช่น “หลักของศีลธรรมใ นแต่ละวิชาชีพเฉพาะ”
“มาตรฐานของการประพฤติปฏิบัติในวิชาชีพที่ได้รับ” “ข้อตกลงกันในหมู่ประชาชนในการกระทำสิ่งที่ถูก และหลีกเลี่ยงการกระทำสิ่งที่ผิด” หรืออาจสรุปได้ว่า จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักของความถูกและความผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ

กรอบความคิดเรื่องจริยธรรม
หลักปรัชญาเกี่ยวกับจริยธรรม มีดังนี้ (Laudon & Laudon, 1999)
R.O. Mason และคณะ ได้จำแนกประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น 4 ประเภทคือ ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ความเป็นเจ้าของ (Property) และความสามารถในการเข้าถึงได้ (Accessibility) (O’Brien, 1999: 675; Turban, et al., 2001: 512)
1) ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy) คือ การเก็บรวบรวม การเก็บรักษา และการเผยแพร่ ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับปัจเจกบุคคล
2) ประเด็นความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ได้แก่ ความถูกต้องแม่นยำของการเก็บรวบรวมและวิธีการปฏิบัติกับข้อมูลสารสนเทศ
3) ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Property) คือ กรรมสิทธิ์และมูลค่าของข้อมูลสารสนเทศ (ทรัพย์สินทางปัญญา)
4) ประเด็นของความเข้าถึงได้ (Accessibility) คือ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้และการจ่ายค่าธรรมเนียมในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ

การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy)

ความเป็นส่วนตัวของบุคคลต้องได้ดุลกับความต้องการของสังคม
สิทธิของสาธารณชนอยู่เหนือสิทธิความเป็นส่วนตัวของปัจเจกชน
การคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยปัจเจกชน หรือนิติบุคคล ซึ่งอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายความลับทางการค้า และกฎหมายสิทธิบัตร
ลิขสิทธิ์ (copyright) ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หมายถึง สิทธิ์แต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ซึ่งเป็นสิทธิ์ในการป้องกันการคัดลอกหรือทำซ้ำในงานเขียน งานศิลป์ หรืองานด้านศิลปะอื่น ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวลิขสิทธิ์ทั่วไป มีอายุห้าสิบปีนับแต่งานได้สร้างสรรค์ขึ้น หรือนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีอายุเพียง 28 ปี
สิทธิบัตร (patent) ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยสิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุยี่สิบปีนับแต่วันขอรับสิทธิบัตร ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะคุ้มครองเพียง 17 ปี

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์อาศัยความรู้ในการใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น โดยสามารถทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาลมากกว่าการปล้นธนาคารเสียอีก นอกจากนี้อาชญากรรมประเภทนี้ยากที่จะป้องกัน และบางครั้งผู้ได้รับความเสียหายอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ

เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องประกอบอาชญากรรม
เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเป้าหมายของอาชญากรรม
การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกกฎหมาย
การเปลี่ยนแปลงและการทำลายข้อมูล
การขโมยข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือ
การสแกมทางคอมพิวเตอร์ (computer-related scams)
การรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์
การควบคุมที่มีประสิทธิผลจะทำให้ระบบสารสนเทศมีความปลอดภัยและยังช่วยลดข้อผิดพลาด การฉ้อฉล และการทำลายระบบสารสนเทศที่มีการเชื่อมโยงเป็นระบบอินเทอร์เน็ตด้วย ระบบการควบคุมที่สำคัญมี 3 ประการ คือ การควบคุมระบบสารสนเทศ การควบคุมกระบวนการทำงาน และการควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก (O’Brien, 1999: 656)

การควบคุมระบบสารสนเทศ (Information System Controls)

การควบคุมอินพุท
การควบคุมการประมวลผล
การควบฮาร์ดแวร์ (Hardware Controls)
การควบคุมซอฟท์แวร์ (Software Controls)
การควบคุมเอาท์พุท (Output Controls)
การควบคุมความจำสำรอง (Storage Controls)
การควบคุมกระบวนการทำงาน (Procedural Controls)

การมีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน และมีคู่มือ
การอนุมัติเพื่อพัฒนาระบบ
แผนการป้องกันการเสียหาย
ระบบการตรวจสอบระบบสารสนเทศ (Auditing Information Systems)
การควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น (Facility Controls)

ความปลอดภัยทางเครือข่าย (Network Security)
การแปลงรหัส (Encryption)
กำแพงไฟ (Fire Walls)
การป้องกันทางกายภาพ (Physical Protection Controls)
การควบคุมด้านชีวภาพ (Biometric Control)
การควบคุมความล้มเหลวของระบบ (Computer Failure Controls)

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ภาษาโปรแกรม คือวิธีการมาตรฐานในการสื่อสารสำหรับแสดงคำสั่งไปยังคอมพิวเตอร์
ภาษาโปรแกรมกำหนดไวยากรณ์และการตีความหมายจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้น
ภาษาโปรแกรมทำให้โปรแกรมเมอร์สามารถระบุอย่างชัดเจนถึงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์จะทำงาน
และวิธีการที่คอมพิวเตอร์จะประมวลผลข้อมูลเหล่านั้น

การพัฒนาโปรแกรม

2.2 ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม
ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมประกอบด้วย

การวิเคราะห์ปัญหา
การออกแบบโปรแกรม
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
การทำเอกสารประกอบโปรแกรม
การบำรุงรักษาโปรแกรม
การวิเคราะห์ปัญหา
การวิเคราะห์ปัญหา ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

กำหนดวัตถุประสงค์ของงาน เพื่อพิจารณาว่าโปรแกรมต้องทำการประมวลผลอะไรบ้าง
พิจารณาข้อมูลนำเข้า เพื่อให้ทราบว่าจะต้องนำข้อมูลอะไรเข้าคอมพิวเตอร์ ข้อมูลมีคุณสมบัติเป็นอย่างไร ตลอดจนถึงลักษณะและรูปแบบของข้อมูลที่จะนำเข้า
พิจารณาการประมวลผล เพื่อให้ทราบว่าโปรแกรมมีขั้นตอนการประมวลผลอย่างไรและมีเงื่อนไปการประมวลผลอะไรบ้าง
พิจารณาข้อสนเทศนำออก เพื่อให้ทราบว่ามีข้อสนเทศอะไรที่จะแสดง ตลอดจนรูปแบบและสื่อที่จะใช้ในการแสดงผล
การออกแบบโปรแกรม
การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเป็นขั้นตอนที่ใช้เป็นแนวทางในการลงรหัสโปรแกรม ผู้ออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมอาจใช้เครื่องมือต่างๆ ช่วยในการออกแบบ อาทิเช่น คำสั่งลำลอง (Pseudocode) หรือ ผังงาน (Flow chart) การออกแบบโปรแกรมนั้นไม่ต้องพะวงกับรูปแบบคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ แต่ให้มุ่งความสนใจไปที่ลำดับขั้นตอนในการประมวลผลของโปรแกรมเท่านั้น

การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
การเขียนโปรแกรมเป็นการนำเอาผลลัพธ์ของการออกแบบโปรแกรม มาเปลี่ยนเป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องให้ความสนใจต่อรูปแบบคำสั่งและกฎเกณฑ์ของภาษาที่ใช้เพื่อให้การประมวลผลเป็นไปตามผลลัพธ์ที่ได้ออกแบบไว้ นอกจากนั้นผู้เขียนโปรแกรมควรแทรกคำอธิบายการทำงานต่างๆ ลงในโปรแกรมเพื่อให้โปรแกรมนั้นมีความกระจ่างชัดและง่ายต่อการตรวจสอบและโปรแกรมนี้ยังใช้เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบ

การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
การทดสอบโปรแกรมเป็นการนำโปรแกรมที่ลงรหัสแล้วเข้าคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบรูปแบบกฎเกณฑ์ของภาษา และผลการทำงานของโปรแกรมนั้น ถ้าพบว่ายังไม่ถูกก็แก้ไขให้ถูกต้องต่อไป ขั้นตอนการทดสอบและแก้ไขโปรแกรม อาจแบ่งได้เป็น 3 ขั้น

สร้างแฟ้มเก็บโปรแกรมซึ่งส่วนใหญ่นิยมนำโปรแกรมเข้าผ่านทางแป้นพิมพ์โดยใช้โปรแกรมประมวลคำ
ใช้ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์แปลโปรแกรมที่สร้างขึ้นเป็นภาษาเครื่อง โดยระหว่างการแปลจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบและกฎเกณฑ์ในการใช้ภาษา ถ้าคำสั่งใดมีรูปแบบไม่ถูกต้องก็จะแสดงข้อผิดพลาดออกมาเพื่อให้ผู้เขียนนำไปแก้ไขต่อไป ถ้าไม่มีข้อผิดพลาด เราจะได้โปรแกรมภาษาเครื่องที่สามารถให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้
ตรวจสอบความถูกต้องของการประมวลผลของโปรแกรม โปรแกรมที่ถูกต้องตามรูปแบบและกฎเกณฑ์ของภาษา แต่อาจให้ผลลัพธ์ของการประมวลผลไม่ถูกต้องก็ได้ ดังนั้นผู้เขียนโปรแกรมจำเป็นต้องตรวจสอบว่าโปรแกรมประมวลผลถูกต้องตามต้องการหรือไม่ วิธีการหนึ่งก็คือ สมมติข้อมูลตัวแทนจากข้อมูลจริงนำไปให้โปรแกรมประมวลผลแล้วตรวจสอบผลลัพธ์ว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าพบว่าไม่ถูกต้องก็ต้องดำเนินการแก้ไขโปรแกรมต่อไป การสมมติข้อมูลตัวแทนเพื่อการทดสอบเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ลักษณะของข้อมูลตัวแทนที่ดีควรจะสมมติทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิดพลาด เพื่อทดสอบว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารถครอบคลุมการปฏิบัติงานในเงื่อนไขต่างๆ ได้ครบถ้วน นอกจากนี้อาจตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมด้วยการสมมติตัวเองเป็นคอมพิวเตอร์ทีจะประมวลผล แล้วทำตามคำสั่งทีละคำสั่งของโปรแกรมนั้นๆ วิธีการนี้อาจทำได้ยากถ้าโปรแกรมมีขนาดใหญ่ หรือมีการประมวลผลที่ซับซ้อน
การทำเอกสารประกอบโปรแกรม
การทำเอกสารประกอบโปรแกรมเป็นงานที่สำคัญของการพัฒนาโปรแกรม เอกสารประกอบโปรแกรมช่วยให้ผู้ใช้โปรแกรมเข้าใจวัตถุประสงค์ ข้อมูลที่จะต้องใช้กับโปรแกรม ตลอดจนผลลัพธ์ที่จะได้จากโปรแกรม การทำโปรแกรมทุกโปรแกรมจึงควรต้องทำเอกสารกำกับ เพื่อใช้สำหรับการอ้างอิงเมื่อจะใช้งานโปรแกรมและเมื่อต้องการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรม เอกสารประกอบโปรแกรมที่จัดทำ ควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

วัตถุประสงค์
ประเภทและชนิดของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ใช้ในโปรแกรม
วิธีการใช้โปรแกรม
แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบโปรแกรม
รายละเอียดโปรแกรม
ข้อมูลตัวแทนที่ใช้ทดสอบ
ผลลัพธ์ของการทดสอบ
การบำรุงรักษาโปรแกรม
เมี่อโปรแกรมผ่านการตรวจสอบตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว และถูกนำมาให้ผู้ใช้ได้ใช้งาน ในช่วงแรกผู้ใช้อาจจะยังไม่คุ้นเคยก็อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาบ้าง ดังนั้นจึงต้องมีผู้คอยควบคุมดูแลและคอยตรวจสอบการทำงาน การบำรุงรักษาโปรแกรมจึงเป็นขั้นตอนที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องคอยเฝ้าดูและหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมในระหว่างที่ผู้ใช้ใช้งานโปรแกรม และปรับปรุงโปรแกรมเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น หรือในการใช้งานโปรแกรมไปนานๆ ผู้ใช้อาจต้องการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบงานเดิมเพื่อให้เหมาะกับเหตุการณ์ นักเขียนโปรแกรมก็จะต้องคอยปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมตามความต้องการของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง

การพัฒนาระบบสารสนเทศ

การพัฒนาระบบสารสนเทศ

ความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศ

1. การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน ระบบเดิมไม่สามารถให้ข้อมูลหรือทำงานได้ตามต้องการ มีการดำเนินงานหลายขึ้นตอน ยุ่งยากในการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำข้อมูลสรุปสำหรับการติดตามการปฏิบัติงานโดยรวมขององค์การ จึงจำเป็นต้องพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยให้ขั้นตอนการปฏิบัติงานภายในและกระบวนการบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในระบบสารสนเทศปัจจุบันล้าสมัย ค่าช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบมีราคาสูง จึงต้องรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานที่มีอยู่เดิม

3. การปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

- ระบบที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ขนาดเอกสารอ้างอิงหรือเอกสารที่มีอยู่ไม่ได้มารตรฐาน ทำให้การปรับปรุงหรือแก้ไขทำได้ยาก

- ความต้องการปรับองค์การให้เหมาะสมเพื่อสามารตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

- ระบบปัจจุบันไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้

การพัฒนาระบบประกอบด้วย

1) กระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และขั้นตอนการดำเนินธุรกิจขององค์การ

- การปรับปรุงคุณภาพ

- การติดตามความล้มเหลวจากการดำเนินงาน

- การปรับค่าตอบแทนของพนักงานโดยใช้การปรับปรุงคุณภาพเป็นดัชนี

- การค้นหาและแก้ไขสาเหตุที่แท้จริงของความล้มเหลว

2) บุคลากร (People)

3) วิธีการและเทคนิค (Methodology and Technique) การเลือกใช้วิธีการและเทคนิคที่เหมาะสมกับลักษณะของระบบเป็นสิ่งสำคัญ

4) เทคโนโลยี (Technology) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความเหมาะสมกับลักษณะขอบเขตของระบบสารสนเทศแล ะงบประมาณที่กำหนด

5) งบประมาณ (Budget)

6) ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์การ (Infrastructure)

7) การบริหารโครงการ (Project Management)



ทีมงานพัฒนาระบบ

การพัฒนา IT เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบกระบวนการพัฒนาระบบหลายกลุ่ม โดยทั่วไปจะมีการทำงานเป็นทีมที่ต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ และทักษะจากกลุ่มบุคคล

1) คณะกรรมการ (Steering Committee)

2) ผู้บริหารโครงการ (Project Manager)

3) ผู้บริหารหน่วยงานด้านสารสนเทศ (MIS Manager)

4) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) ควรมีทักษะในด้านต่างๆ คือ

- ทักษะด้านเทคนิค

- ทักษะด้านการวิเคราะห์

- ทักษะดานการบริหารจัดการ

- ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร

5) ผู้ชำนาญการทางด้านเทคนิค

- ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA)

- โปรแกรมเมอร์ (Programmer)

6) ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป (User and Manager)


ระบบเลขฐานและตรรกศาสตร์

ระบบเลขฐาน

เลขฐาน หมายถึงกลุ่มข้อมูลที่มีจำนวนหลัก (Digit) ตามชื่อของฐาน
นั้นๆเช่น เลขฐานสอง ฐานแปด และฐานสิบ ประกอบด้วยข้อมูลตัวเลขจำนวนสองหลัก (0-1) แปดหลัก (0-7) และสิบหลัก (0-9) ตามลำดับ ดังรูปในตารางที่ 1
ในระบบคอมพิวเตอร์มีการใช้ระบบเลขฐาน 4 แบบ ประกอบด้วย
1).เลขฐานสอง (Binary Number)
2).เลขฐานแปด (Octal Number)
3).เลขฐานสิบ (Decimal Number)
4).เลขฐานสิบหก (Hexadecimal Number)
1).เลขฐานสอง

คือตัวเลขที่มีค่าไม่ซ้ำกันสองหลัก ( 0 และ 1) เป็นเลขฐานเดียวที่เข้ากันได้กับ Hardware ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง เพราะการใช้เลขฐานอื่น จะสร้างความยุ่งยากให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างมาก เช่น เลขฐานสิบมีตัวเลขที่เป็นสถานะที่ต่างกันถึง 10 ตัว ในขณะที่ระบบไฟฟ้ามีเพียง 2 สถานะ ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งๆมีเพียงสถานะเดียวเท่านั้น แต่ละหลักของเลขฐานสอง เรียกว่า Binary Digit (BIT)

2).เลขฐานแปด

เลขฐานแปด มีความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง คือ เลขฐานสองจำนวน 3 หลัก แทนด้วยเลข
ฐานแปด 1 หลัก ดังนั้นเราจึงสามารถเขียนเลขฐานสอง 6 บิท แทนด้วยเลขฐานแปด 2 บิท การใช้เลขฐานแปดแทนเลขฐานสองทำให้จำนวนบิทสั้นลง

3).เลขฐานสิบ

คือตัวเลขที่มีค่าไม่ซ้ำกันสิบหลัก (0,1,2,…,9) เป็นเลขฐานที่มนุษย์คุ้นเคยและใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด ตัวเลขที่มีจำนวนมากกว่า 9 ให้ใช้ 10 ซึ่งเป็นการกลับไปใช้เลข 1 และ 0 อีก เพียงแต่ค่าของ 1 เปลี่ยนไปเป็น 10 เท่าของตัวมันเอง เช่น 333 (สามร้อยสามสิบสาม) แม้จะใช้ตัวเลข 3 ทั้งหมด แต่ตำแหน่งของตัวเลขย่อมมีความหมายตามตำแหน่งของแต่ละหลักนั้น กล่าวคือ หลักหน่วยน้อยกว่าหลักสิบ 10 เท่า หลักสิบน้อยกว่าหลักร้อย 10 เท่า ตามลำดับ

4).เลขฐานสิบหก

เลขฐานสิบหก มีความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง คือ เลขฐานสองจำนวน 4 หลัก แทนด้วย
เลขฐานสิบหก 1 หลัก ดังนั้นเราจึงสามารถเขียนเลขฐานสอง 8 บิทแทนด้วยเลขฐานสิบหก 2 บิท การใช้เลขฐานสิบหกแทนเลขฐานสองทำให้จำนวนบิทสั้นลง
การเปลี่ยนฐานเลข (Base Number Conversion)

เนื่องจากตัวเลขในแต่ละฐานมี ค่าคงที่เฉพาะ ในแต่ละหลักของตัวเอง เช่นตัวเลข 100 มีค่าเท่ากับหนึ่งร้อยในระบบเลขฐานสิบ แต่ตัวเลข 100 ในระบบ
เลขฐานสอง (อ่านว่า หนึ่ง-ศูนย์-หนึ่ง) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 4 เป็นต้น ดังนั้น จึงไม่สามารถนำค่าของเลขฐานใดๆ ไปคำนวณเปรียบเทียบ กับเลขฐานอื่นได้โดยตรง
เมื่อต้องการคำนวณหรือเปรียบเทียบตัวเลข (ประมวลผล) จำเป็นต้องเปลี่ยนฐานเลขเหล่านั้นให้เป็นฐานเดียวกันก่อน การเปลี่ยนฐานเลขสามารถกระทำได้
หลายวิธี ในหน่วยเรียนนี้จะใช้วิธีที่สะดวกที่สุดวิธีหนึ่ง ดังนี้
ก่อนเปลี่ยนฐานเลขใดๆ จำเป็นต้องทราบค่าคง ที่เฉพาะในแต่ละหลักของเลขฐานสองดังนี้

โมบายหลอดกาแฟ

การทำชิ้นงานศิลปะประดิษฐ์บางชนิดไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนมาก งานประดิษฐ์บางชนิดเราสามารถนำวัสดุและวัตถุดิบที่มีอยู่ใกล้ตัว หาได้ง่าย ราคาไม่แพง มาใช้ผลิตเป็นชิ้นงานขายได้ อย่างเช่นงานประดิษฐ์ โมบายแขวนจากหลอดกาแฟ หลากสีสัน ที่ก็เป็นอีกหนึ่ง ช่องทางทำกิน ได้

บุญสืบ ฟักน่วม เจ้าของชิ้นงานนี้เล่าว่า ยึดอาชีพผลิต โมบายแขวนจากหลอดกาแฟ ขายมานานกว่า 15 ปีแล้ว ซึ่งพัฒนามาจากงานเครื่องแขวนหรือโมบายที่ใช้วัตถุดิบในการทำจากเปลือกหอย โดยจากเดิมที่คิดแค่จะทำเป็นอาชีพเสริมในยามว่าง ต่อมาก็หันมายึดอาชีพนี้ทำอย่างจริงจังเพื่อส่งขายให้กับลูกค้าเพื่อนำไป จำหน่ายต่ออีกทีหนึ่ง เหตุที่สนใจเพราะมองว่าเป็นงานที่สามารถหัดทำได้ไม่ยาก อีกทั้งวัตถุดิบหาได้ง่าย ใช้เงินลงทุนเกี่ยวกับอุปกรณ์ไม่สูงนัก โดยหัดทำด้วยตนเอง เริ่มจากรูปแบบง่าย ๆ เช่น พับเป็นรูปทรงดอกกุหลาบ พับเป็นดาว ต่อมาคิดว่าน่าจะสามารถนำมาพัฒนารูปแบบให้เป็นงานเครื่องแขวนหรือโมบายได้

ชิ้นงานที่ทำขึ้นนั้น เน้นที่งานเครื่องแขวนเป็นหลัก โดยมีรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ปลาตะเพียน ดาว เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังสามารถดัดแปลงทำเป็นพานพุ่มบายศรี หรือพานพุ่มสำหรับตั้งบูชา ได้อีกด้วย ปัจจุบันนอกจากผลิตเพื่อจำหน่ายเองแล้ว ก็ยังมีรายได้เสริมอีกทางจากการรับทำตามความต้องการของลูกค้าที่สั่งเฉพาะ อีกด้วย

รูปแบบที่เห็นก็พัฒนามาจากงานฝีมือที่นักเรียนส่วนใหญ่จะเคยหัดทำมาบ้างแล้ว เพียงแต่เอามาเพิ่มรูปแบบให้ละเอียดและซับซ้อนขึ้น มีการนำวัสดุอื่น ๆ เข้ามาตกแต่ง ทำให้ชิ้นงานดูสะดุดตา เจ้าของงานกล่าว

ทุนเบื้องต้นในการทำโมบายจากหลอดกาแฟนี้ ใช้ไม่มาก ประมาณ 1,000 บาท ส่วนทุนวัตถุดิบอยู่ที่ประมาณ 50% จากราคาขาย โดยโมบายหลอดกาแฟที่ทำขึ้นราคาขายเริ่มต้นอยู่ที่ชิ้นละ 99 บาท จนถึง 199 บาท สำหรับตลาดของสินค้า ส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าที่รับไปขายต่อตามตลาดนัด และตามแหล่งท่องเที่ยว

วัสดุอุปกรณ์ในการทำมีไม่มาก ประกอบด้วย เข็ม สำหรับร้อยเอ็น, เอ็นพลาสติก, กรรไกร, หลอดกาแฟ, ลูกปัดสี, กระดิ่ง และวัสดุตกแต่งอื่น ๆ ตามความต้องการ หรือตามจินตนาการ

การดูแลผู้สูงอายุ


9 วิธี ดูแลผู้สูงอายุสุขภาพดี (ธรรมลีลา)
โดย : นพ.สมบูรณ์ อินทลาภาพร

ใครมีผู้สูงอายุที่ต้องดูแล ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย จะรู้ว่าไม่ใช่เรื่องง่ายยิ่งวิกฤตเศรษฐกิจปีนี้รุนแรงกว่าครั้งใด ๆ การป้องกันดูจะเป็นยาขนานเอกที่ได้ผลเกินคลาด วันนี้เรามีวิธีดูแสุขภาพผู้สูงอายุมาฝาก

1. เลือกอาหาร โดยวัยนี้ร่างกายมีการใช้พลังงานน้อยลงจากกิจกรรมที่ลดลง จึงควรลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน ให้เน้นอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะปลา และเพิ่มแร่ธาตุที่ผู้สูงอายุมักขาด ได้แก่ แคลเซียม สังกะสี และเหล็ก ซึ่งมีอยู่ในนมถั่วเหลือง ผัก ผลไม้ ธัญพืชต่าง ๆ และควรกินอาหารประเภทต้ม นึ่ง ย่าง อบ แทนประเภทผัด ๆ ทอด ๆ จะช่วยลดปริมาณไขมันในอาหารได้ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด และดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน

2. ออกกำลังกาย หากไม่มีโรคประจำตัว แนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิคสัก 30 นาทีต่อครั้ง ทำให้ได้สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง จะเกิดประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือดอย่างมาก โดยขั้นตอนการออกกำลังกายจะต้องค่อย ๆ เริ่ม มีการยืดเส้นยืดสายก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มความหนักขึ้น จนถึงระดับที่ต้องการ ทำอย่างต่อเนื่องจนถึงระยะเวลาที่ต้องการ จากนั้นค่อย ๆ ลดลงช้า ๆ และค่อย ๆ หยุดเพื่อให้ร่างกายและหัวใจได้ปรับตัว

3. สัมผัสอากาศที่บริสุทธิ์ จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคได้ อาจเป็นสวนสาธารณะใกล้ ๆ สถานที่ท่องเที่ยว หรือการปรับภูมิทัศน์ภายในบ้านให้ปลอดโปร่ง สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก มีการปลูกต้นไม้ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้เหมาะสม เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค และสามารถช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ หรือหอบหืดได้

4. หลีกเลี่ยงอบายมุข ได้แก่ บุหรี่และสุรา จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหรือลดความรุนแรงของโรคได้ ทั้งลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และยังช่วยป้องกันปัญหาอุบัติเหตุ อาชญากรรมต่าง ๆ อันเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมในขณะนี้

5. ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลและโรคที่เป็นอยู่ส่งเสริมสุขภาพให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง ปรับสภาพแวดล้อมในบ้านให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือการหกล้ม

6. ควบคุมน้ำหนักตัวหรือลดความอ้วน โดยควบคุมอาหารและออกกำลังกายจะช่วยทำให้เกิดความคล่องตัว ลดปัญหาการหกล้ม และความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม และโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น

วิธีประเมินว่าน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์อ้วนหรือไม่ โดยคำนวณจากดัชนีมวลกายหรือเรียกสั้น ๆ ว่า "BMI (bodymass index)" ถ้าน้ำหนักตัวเกิน ค่า BMI จะอยู่ระหว่าง 23-24.9 กิโลกรัม/เมตร (ยกกำลัง 2) แต่ถ้าอ้วนละก็ค่า BMI จะตั้งแต่ 25 กิโลกรัม/เมตร (ยกกำลัง 2) ขึ้นไป

สูตรดัชนีมวลกาย (BMI)= น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ส่วนสูง (เมตรยกกำลัง 2)

ตัวอย่าง ผู้สูงอายุ หนัก 67 กิโลกรัม สูง 160 เซนติเมตร

ดัชนีมวลกาย (BMI)= 67 (1.6 ยกกำลัง 2)

= 26.17 ถือว่าเข้าข่ายอ้วน

7. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม เช่น การซื้อยากินเอง การใช้ยาเดิมที่เก็บไว้มาใช้รักษาอาการที่เกิดใหม่ หรือรับยาจากผู้อื่นมาใช้ เนื่องจากวัยนี้ประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตในการกำจัดยาลดลง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดพิษจากยาหรือผลข้างเคียงอาจมีแนวโน้มรุนแรง และเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ฉะนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาจะดีที่สุด

8. หมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น คลำได้ก้อน โดยเฉพาะก้อนโตเร็ว แผลเรื้อรัง มีปัญหาการกลืนอาหาร กลืนติด กลืนลำบาก ท้องอืดเรื้อรัง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไอเรื้อรัง ไข้เรื้อรัง เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอกหรือถ่ายอุจจาระผิดปกติ มีอาการท้องเสียเรื้อรัง ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ้าอย่างนี้ละก็พามาพบแพทย์ดีที่สุด

9. ตรวจสุขภาพประจำปี แนะนำให้ตรวจสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี หรืออย่างน้อยทุก 3 ปี โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และอาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง เช่น โรคเบาหวาน โรความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ตรวจหาโรคมะเร็งที่พบบ่อย ได้แก่ มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และยังมีตรวจการมองเห็น การได้ยิน ตลอดจนประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุด้วย

นอกจากการดูแลสุขภาพกายแล้วสุขภาพใจก็เป็นสิ่งสำคัญ การทำจิตใจให้แจ่มใส มองโลกในแง่ดี ไม่เครียดหรือวิตกกังวลกับเรื่องต่าง ๆ มากจนเกินไป รวมถึงการเข้าใจและยอมรับตนเองของท่านและผู้อื่น จะช่วยให้เป็นผู้สูงอายุที่สุขภาพดีอย่างแท้จริง

การเล่นกีฬาว่ายน้ำ

การว่ายน้ำ เป็นกระบวนการในการเคลื่อนที่ในน้ำของมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตอื่น การว่ายน้ำของมนุษย์มีจุดประสงค์หลายอย่าง เช่น นันทนาการ การแข่งขัน การออกกำลังกาย การว่ายน้ำจัดเป็นกีฬาประเภท AEROBIC EXERCISE

การว่ายน้ำนั้นมีการแบ่งออกเป็นท่าต่างๆ โดยท่าที่ใช้สำหรับแข่งขันนั้นได้แก่ ท่ากบ ท่ากรรเชียง และท่าผีเสื้อ การแข่งขันอีกประเภทหนึ่งคือการแข่งขันแบบ "ฟรีสไตล์" ซึ่งผู้เข้าแข่งขันสามารถว่ายน้ำแบบใดก็ได้ นักว่ายน้ำส่วนใหญ่เลือกใช้ท่าฟรอนท์ครอล (อังกฤษ: front crawl) ทำให้มักเรียกการว่ายน้ำแบบนี้ว่าฟรีสไตล์ สหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ (FINA) เป็นจัดการแข่งขันว่ายน้ำ (และกีฬาทางน้ำอื่น) ในระดับนานาชาติ การแข่งขันว่ายน้ำเป็นหนึ่งในการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน

การปลูกกล้วยไม้

วิธีการปลูกเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยบังคับการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ถ้าใช้วิธีการปลูกที่ไม่เหมาะสม กล้วยไม้ก็ไม่เจริญงอกงามเท่าที่ควร ดังนั้นผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้จึงจำเป็นต้องศึกษาความต้องการของกล้วยไม้แต่ละชนิด เลือกภาชนะปลูกและเครื่องปลูก รวมทั้งวิธีการปลูกให้เหมาะสมกับกล้วยไม้ชนิดนั้นๆ

ภาชนะปลูก ภาชนะที่ใช้ในการปลูกกล้วยไม้มีส่วนสำคัญต่อการเจริญงอกงามของกล้วยไม้ ดังนั้นจึงควรจัดภาชนะปลูกให้เหมาะกับการเจริญของรากกล้วยไม้แต่ละประเภท ภาชนะสำหรับปลูกกล้วยไม้มีหลายชนิด ดังนี้
กระถางดินเผาทรงเตี้ย เป็นกระถางดินเผาขนาดปากกว้าง 4-6 นิ้ว สูง 2-4 นิ้ว เจาะรูที่ก้นและรอบกระถาง เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง การปลูกไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องปลูกใดๆ หรืออาจใส่ถ่านไม้ มะพร้าวสับ วางให้โปร่งก็พอ วางต้นกล้วยไม้กลางกระถางแล้วใช้เชือกหรือลวดเส้นเล็กๆ ผูกติดกับก้นกระถาง
กระถางดินเผาทรงสูง เป็นกระถางดินเผาขนาดปากกว้าง 3-4 นิ้ว สูง 4-5 นิ้ว เจาะรูที่ก้นและรอบกระถางแต่รูน้อยกว่ากระถางทรงเตี้ย เหมาะกับกล้วยไม้ที่ต้องการเครื่องปลูกหรือกล้วยไม้รากกึ่งอากาศ เช่น คัทลียา หวาย โดยปลูกด้วยกาบมะพร้าวอัดเรียงตามแนวตั้งจนแน่น ยึดรากและโคนกล้วยไม้ตรงกลางกระถางให้แน่น
กระเช้าไม้สัก ทำจากไม้สักหรือไม้ชนิดอื่น นิยมทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีขนาดตั้งแต่ขนาด 4x4 นิ้ว ถึง 10x10 นิ้ว เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ มีต้นใหญ่ รากใหญ่ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง การปลูกด้วยกระเช้าไม้สักภายในไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องปลูกใดๆ หรืออาจใส่ถ่านไม้ก้อนใหญ่ๆ 2-3 ก้อนวางให้โปร่งก็พอ วางต้นกล้วยไม้กลางกระถางแล้วใช้เชือกหรือลวดเส้นเล็กๆ ผูกติดกับก้นกระเช้า
กระเช้าพลาสติก เป็นกระเช้าที่ทำจากพลาสติกสีดำ ราคาถูก มีหลายแบบ หลายขนาด แต่ที่นิยมใช้มี 2 ขนาด คือ ขนาดทรงเตี้ยใช้ปลูกกล้วยไม้แวนด้า และ ขนาดทรงสูงใช้ปลูกกล้วยไม้หวาย ลักษณะการปลูกเช่นเดียวกับกระถางดินเผาทรงเตี้ยและกระถางดินเผาทรงสูง
กระถางดินเผามีรูก้นกระถาง เป็นกระถางดินเผาชนิดเดียวกับที่ใช้ปลูกต้นไม้ทั่วไป มีรูระบายน้ำอยู่ที่ก้นกระถางเพียงรูเดียว ทั้งแบบทรงสูงทั่วไปและแบบทรงเตี้ย มีขนาดตั้งแต่ 4-10 นิ้ว นิยมใช้ปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากกึ่งดิน เช่น กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี สกุลเอื้องพร้าว สกุลคูลู และสกุลสเปโธกล๊อตติส
ท่อนไม้ที่มีเปลือก โดยผูกกล้วยไม้ติดกับท่อนไม้ที่มีเปลือกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 นิ้ว ยาวประมาณ 1 ฟุต ปลายหนึ่งของท่อนไม้ยึดติดกับลวดใว้สำหรับแขวนกับราว เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง สกุลแวนด้า
ต้นไม้ใหญ่ โดยการปลูกยึดติดกับต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศและรากกึ่งอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง สกุลหวาย สำหรับกล้วยไม้ที่เป็นรากอากาศสามารถใช้ลวดหรือเชือกผูกติดกับต้นไม้ได้เลย แต่สำหรับกล้วยไม้ที่เป็นรากกิ่งอากาศให้หุ้มด้วยกาบกะพร้าวทับอีกชั้นหนึ่ง ยึดกาบมะพร้าวด้วยตาข่ายหรือซาแลนอีกชั้นหนึ่ง

ที่มาของโขน

โขน (อังกฤษ: Khon) เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แตกต่างเพียงท่ารำที่มีการเพิ่มตัวแสดง เปลี่ยนทำนองเพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนกับละคร แสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับก่อนหลังเหมือนละครทุกประการ ซึ่งไม่เรียกการแสดงเหล่านี้ว่าละครแต่เรียกว่าโขนแทน[3] มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา[4] จากหลักฐานจดหมายเหตุลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงการแสดงโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทาง ประกอบกับเสียงซอและเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ผู้แสดงจะสวมหน้ากากปิดบังใบหน้าตนเองและถืออาวุธ[5]

โขนเป็นจุดศูนย์รวมของศาสตร์และศิลป์หลากหลายแขนงเช่น วรรณกรรม วรรณศิลป์ นาฏศิลป์ คีตศิลป์ หัตถศิลป์[6] โดยนำเอาวิธีเล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์[7] มีท่าทางการต่อสู้ที่โลดโผน ท่ารำ ท่าเต้นเช่น ท่าปฐมในการไหว้ครูของกระบี่กระบอง รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และเพลงดนตรีเข้ามาประกอบการแสดง[8] ในการแสดงโขน ลักษณะสำคัญอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขน ซึ่งเป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูสองรูบริเวณดวงตาให้สามารถมองเห็น สร้างตามลักษณะของตัวละครนั้น ๆ เช่น ตัวยักษ์ ตัวลิง ตัวเทวดา ฯลฯ ตกแต่งด้วยสี ลงรักปิดทอง ประดับกระจก บ้างก็เรียกว่าหน้าโขน

ในสมัยโบราณ ตัวพระและตัวเทวดาต่างสวมหัวโขนในการแสดง ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงไม่ต้องสวมหัวโขน คงใช้ใบหน้าจริงเช่นเดียวกับละคร แต่งกายแบบเดียวกับละครใน เครื่องแต่งกายของตัวพระและตัวยักษ์ในสมัยโบราณมักมีสองสีคือ สีหนึ่งเป็นสีเสื้อ อีกสีหนึ่งเป็นสีแขนโดยสมมุติแทนเกราะ เป็นลายหนุนประเภทลายพุ่ม หรือลายกระจังตาอ้อย ส่วนเครื่องแต่งกายตัวลิงจะเป็นลายวงทักษิณาวรรต[9] โดยสมมุติเป็นขนของลิงหรือหมี ดำเนินเรื่องด้วยการกล่าวคำนำเล่าเรื่องเป็นทำนองเรียกว่าพากย์อย่างหนึ่ง กับเจรจาเป็นทำนองอย่างหนึ่ง ใช้กาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง[10] โดยมีผู้ให้เสียงแทนเรียกว่าผู้พากย์และเจรจา มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้[11] ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบการแสดง นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุท ปัจจุบันสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์มีหน้าที่หลักในการสืบทอดการฝึกหัดโขน และกรมศิลปากร มีหน้าที่ในการจัดการแสดง[12]

การปลูกพืชเศรษฐกิจ

ข้าว เป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่เพาะปลูกมากเป็นอันดับหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกมากและทำชื่อเสียงให้จังหวัดคือข้าวขาว ดอกมะลิ 105 หรือข้าวหอมมะลินั่นเองเป็นข้าวที่มีคุณภาพดีมีกลิ่นหอม ปลูกกันมากทุกอำเภอ นอกจากนี้ยังมีข้าวพันธุ์ กข. 15 มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิแต่กลิ่นหอมน้อยกว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิ กข.15 ไว้เพื่อจำหน่ายแต่จะปลูกข้าวพันธุ์พืชเมืองไว้บริโภคเอง ซึ่งเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์ นิยมบริโภคข้าวเมล็ดเล็กและเมล็ดใหญ่ ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมือง ได้แก่ ข้าวเจ้าเหลือง ข้าวละอองกษัตริย์ และมีการปลูกข้าวเหนียวเล็กน้อยเพื่อไว้บริโภคในครัวเรือน
จังหวัดสุรินทร์จะมีการปลูกข้าวนาปี เริ่มต้นประมาณเดือนเมษายน สิงหาคม ในบางปีถ้าฝนมาล้าช้ามาก อาจจะเลยไปถึงเดือน กันยายน - ตุลาคม ซึ่งการทำนาในระยะนี้ มีผลทำให้ต้นข้าวมีระยะเวลาเติบโตไม่พอเพียง จะทำให้ผลผลิตลดลง ช่วงเวลาในการเก็บเกี่ยวของจังหวัดสุรินทร์ เริ่มเก็บเกี่ยวข้าวพันธุ์ กข. 15 ในเดือนตุลาคม และเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิช่วง เดือนพฤศจิกายน - มกราคม เนื่องจากมีพื้นที่ปลูกข้าวเป็นจำนวนมาก ทำให้ขาดแรงงาน ในช่วงเก็บเกี่ยว ซึ่งทำให้ค่าแรงสูงมากประมาณ 100 - 150 บาท ต่อคน/วัน และเก็บเกี่ยวข้าวไม่ทันทำให้ข่าวอยู่ในนานานเกินไป ส่งผลให้คุณภาพข้าวต่ำลง ในบางปีประสบปัญหามรสุมพัดผ่าน ในช่วงต้นข้าวกำลังแทงช่อดอกและฝนตกในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว ทำให้เกิดโรคที่เกิดจากเชื้อราติดไปกับเมล็ดด้วยซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ข้าวมีคุณภาพต่ำส่งผลให้เกษตรขายข้าวได้ในราคาต่ำไปด้วย
สำหรับการเพาะปลูกปี 2542 เกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์ เริ่มปลูกข้าวตั้งแต่เดือนเมษายน พื้นที่ปลูกข้าวเจ้านาปี ทั้งวิธีทำนาดำ และนาหว่านรวมทั้งสิ้น 3,097,644 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 99.07 ของพื้นที่ทำนาทั้งจังหวัด สำหรับข่าวเหนี่ยวนาปีปลูกในพื้นที่อำเภอชุมพลบุรี สำโรงทาบ สนม กาบเชิง กิ่งอำเภอพนมดงรัก และกิ่งอำเภอโนนนารายณ์ จำนวน 8,788 ไร่

2 มันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกกันมากอีกชนิดหนึ่งพืชที่ปลูกมีความแปรปรวนขึ้นกับสภาพตลาดและราคาของหัวมันสดในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามมันสำปะหลังเป็นพืชหนึ่งที่ทางราชการมีการกำหนดมาตรการยกระดับราคาหลายวิธี อาทิการชดเชยให้แก่ผู้ส่ง ออกมันอัดเม็ดในราคาไม่ต่ำกว่า 0.95 บาทต่อกิโลกรัม หรือการยกเว้นภาษีเงินได้ เป็นต้น สำหรับการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์ ส่วนใหญ่ปลูกในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน มีเกษตรกรส่วนน้อยที่ที่ปลูกปลายฤดูฝนในช่วงเดือนกันยายน - พฤศจิกายน ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ ๆ ที่ทางราชการส่งเสริมแทนการปลูกพันธุ์พื้นเมือง เช่นพันธุ์ระยอง 3 ระยอง 60 ระยอง 90 และเกษตรศาสตร์ 50 เป็นจำนวนมากทำให้ท่อนพันธุ์ดีมีราคาสูง ดังนั้นกรมส่งเสริมการเกษตรจึงส่งเสริมให้เกษตรกรจัดทำแปลงขยายพันธุ์เพื่อกระจาย มันสำปะหลังพันธุ์ดีให้มากขึ้นดังนั้นในแหล่งผลิตมันสำปะหลังที่สำคัญยังคงมีการส่งเสริมให้มีการปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ดี ที่มีเปอร์เซนต์แป้งสูง ส่วนในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมที่จะ|ปลูกมันสำปะหลังทางราชการก็จะสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน
พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดสุรินทร์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2541 ถึงเดือนกันยายน 2542 มีพื้นที่ปลูกทั้งสิ้น 32,159 ไร่ โดยปลูกมาก ในอำเภอบัวเชด 15,480 ไร่ กิ่งอำเภอพนมดงรัก 11,445 ไร่ และอำเภอกาบเชิง 4,000 ไร่ และยังมีปลูกในพื้นที่อำเภอปราสาท รัตนบุรี สังขะ ท่าตูม สนมกิ่งอำเภอศรีณรงค์ และกิ่งอำเภอโนนนารายณ์ปัญหาที่พบคือ ผลผลิตต่อไร่อยู่ในระดับต่ำ เฉลี่ยประมาณ 2,318 กก./ไร่ และพื้นที่ปลูกใน แต่ละปีไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับราคามันสำปะหลังปีใดราคาดี เกษตรกรก็จะหันมาปลูกมันสำปะหลังมากขึ้น นอกจากมีปัญหาเรื่องผลผลิตต่ำแล้วผลผลิตไม่มีคุณภาพ เปอร์เซนต์แป้งต่ำ ราคาไม่มีเสถียรภาพ แหล่งรับซื้อลดลงและอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลังมีจำนวนน้อย

3 ปอแก้ว เป็นปอชนิดหนึ่งที่เกษตรกรนิยมปลูก เนื่องจากปอแก้วมีความทนทานต่อความแห้งแล้งและขึ้นในสภาพดินไร่ทั่วไปได้ดีเป็นพืชที่มีความเสี่ยงในการลงทุนน้อยที่สุด พันธุ์ปอแก้วปลูกกันมาก ได้แก่ พันธุ์โนนสูง 2 ส่วนช่วงเวลาที่เพาะปลูกเริ่มต้นประมาณเดือน เมษายน-สิงหาคมผลผลิตที่ได้จะออกสู่ตลาดช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม พื้นที่ที่มีการปลูกปอมากในพื้นที่อำเภอบัวเชด กิ่งอำเภอพนมดงรัก กาบเชิง กิ่งอำเภอศรีณรงค์และยังมีปลูกในพื้นที่อำเภอจอมพระ ปราสาท รัตนบุรี สังขะ ท่าตุม สนม กิ่งอำเภอโนนนารายณ์

4 มะม่วง จังหวัดสุรินทร์มีพื้นที่ปลูกผลไม้ยืนต้น รวม 108,912.25 คิดเป็นร้อยละ 3.00 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด ไม้ผลที่ปลูกได้แก่ มะม่วง มะพร้าว มะม่วงหิมพานต์ มะขามเปรี้ยว ยางพารา นุ่น หมาก ขนุน น้อยหน่า มะนาว ยูคาลิปตัส และสักทอง โดยเฉพาะมะม่วงมีพื้นที่ปลูกรวม 26,176 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 24 ของพื้นที่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นทั้งหมด ปลูกกันมากในพื้นที่อำเภอบัวเชด อำเภอรัตนบุร ี กิ่งอำเภอโนนนารายณ์กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอปราสาท อำเภอชุมพลบุรี อำเภอศีขรภูมิ อำเภอท่าตูม และอำเภอกาบเชิง นอกจากนี้จะปลูกกันประปรายตามหัวไร่ปลายนาและสวนหลังบ้าน พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากได้แก่ พันธ์พื้นเมือง เช่น แก้วเขียว และแก้วขาว อกร่อง พันธุ์ส่งเสริมได้แก่ น้ำดอกไม้ หนังกลางวัน เขียวเสวยหนองแซง เจ้าคุณทิพย์ แรด ฯลฯ สภาพปัญหาการผลิตในปัจจุบัน ผลผลิตต่ำ เนื่องจากขาดการปฏิบัติดูแลรักษาที่ดีและพันธุ์ที่ปลูกไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

5 ยางพารา เป็นพืชอุตสาหกรรมใหม่ที่เข้ามามีบทบาทในจังหวัดสุรินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร และเพื่ออนุรักษ์ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม จังหวัดสุรินทร์เริ่มส่งเสริมปลูกยางพารา ในพื้นที่อำเภอสังขะ ปี 2532 จนถึงปัจจุบัน จังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ยางพารา จำนวน15,394 ไร่คิดเป็นร้อยละ 0.42 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด พื้นที่ปลูกยางพารา นอกจากนี้อำเภอสังขะ ยังมีพื้นที่ปลูกในกิ่งอำเภอศรีณรงค์ กิ่งอำเภอพนมดงรัก อำเภอกาบเชิง อำเภอบัวเชด นอกจากนี้ยังปลูกในพื้นที่อำเภอชุมพลบุรี ลำดวน สนม และกิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ แต่เป็นจำนวนน้อยจังหวัด
สุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน ที่มีศักยภาพเหมาะสมในการปลูกยางพาราซึ่งในปัจจุบันสามารถเปิดกรีดยางได้แล้วจำนวน 1,364 ไร่ผลผลิตเฉลี่ย 210 กก./ ไร่
สภาพปัญหาในปัจจุบัน เนื่องจากผลผลิตยังออกสู่ตลาดไม่มากนักจึงยังไม่มีพ่อค้ารับซื้อยางแผ่นดิบในท้องถิ่นเกษตรกร จึงนำมาขาย ณ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดสุรินทร์จังหวัดสุรินทร์มีแนวโน้มจะขยายพื้นที่ ปลูกยางพารา ให้มากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเทคโนโลยีการกรีดยางให้ทันสมัย เพื่อเพิ่มจำนวนวันกรีดน้ำยางและคุณภาพของ ผลผลิตให้ดีขึ้น

6 หม่อนไหม จังหวัดสุรินทร์มีชื่อเสียงด้านการเลี้ยงไหม และทอผ้าไหมมานาน มีพื้นที่ปลูกหม่อนเพื่อใช้ในการเลี้ยงไหม 19,936 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.54 ของพื้นที่การเกษตรของจังหวัด มีครัวเรือนเกษตรกรการปลูกหม่อนไหม จำนวน 23,274 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 14.48 ของครัวเรือนเกษตรกร การปลูกหม่อนไหมในจังหวัดสุรินทร์ส่วนใหญ่จะปลูกหม่อน เลี้ยงไหม เพื่อใช้ในครัวเรือนและจำหน่ายเป็นรายได้เสริมแก่ครัวเรือน เกษตรกรจะเลี้ยงไหมเพื่อจำหน่ายเส้นไหม ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 26,007 ครัวเรือน
การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในจังหวัดสุรินทร์ มีแนวโน้มลดลง สาเหตุเพราะแปลงหม่อนของเกษตรกร มักปลูกอยู่ใกล้บ้านเรือนและใกล้กับถนนเมื่อบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป เกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้แปลงหม่อนปลูกสร้างบ้านเรือน หรือขายไปและเกษตรกร หันไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าและขั้นตอนการผลิตไม่ยุ่งยากเหมือนกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

5 ส.

พื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ควรยึ ดหลักการทที่เรียกว่า 5 ส ได้แก่ สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษรธ และสร้างนิสัย ซึ่งเป็นกระบวนการที่เป็นระบบ มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน เหมาะสมกับสภาพทำให้การปฏิบัติงานดำเนินไปด้วยดีมีความปลอดภัย และมีผลเป็นที่พึงพอใจ โดยเขียนเป็นตาราง

1. สะสาง
หลักการ
การขจัดสิ่งของที่ไม่ต้องการออก
ผลจากการที่ไม่ดำเนินการ
1. เสียเวลาค้นหาสิ่งของ
2. ตรวจสอบยากกว่ามีของที่ต้องการอยู่หรือไม่
3. สถานที่ปฏิบัติงานมีน้อย
4. สิ้้้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการดูแล
ผลจากการดำเนินงาน
1. หาสิ่งของที่ต้องการได้ง่าย
2. มีพื้นที่ว่างปฏิบัติงาน
3. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา
4. ขจัดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน





จัดทำโดย

คำสุภาษิต

เกลือจิ้มเกลือ แปลว่า คนเก่งกับคนเก่งพบกัน

กินนอกกินใน แปลว่า ยักยอก

เกลือเป็นหนอน แปลว่า คนภายในบ้านไม่ซื่อตรง

กำปั้นทุบดิน แปลว่า ทำส่งเดชพอให้มันพ้นมือ

กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง แปลว่า ตัวเองรู้ว่าตัวเอง ทำเอง

กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ แปลว่า ถึงทำเสร็จแล้วก็ได้อย่างหนึ่งเสียอย่างหนึ่ง

กระจอกงอกง่อย แปลว่า ยาจกเข็ญใจ

เข้าทางตรอกออกทางประตู แปลว่า ทำตามประเพณี

ขิงก็ราข่าก็แรง แปลว่า ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกัน

ขี้หมูขี้หมา แปลว่า เรื่องเล็กๆน้อยๆ

ขี้เถ้ากลบเพชร แปลว่า แต่แรกทำดีตอนหลังทำเสีย

ขี้แพ้ชวนตี แปลว่า แพ้เขาแล้วพลาน

ขวานผ่าซาก แปลว่า พูดตรงไปตรงมา

ขายผ้าเอาหน้ารอด แปลว่า แก้ปัญหาเฉพาะหน้า

ข้าวใหม่ปลามัน แปลว่า คู่สมรสใหม่มีความสดชื่น

ไข่ในหิน แปลว่า สิ่งของที่ระมัดระวังมากที่สุด

ข้าวยากหมากแพง แปลว่า เกิดความขัีดสนขึ้นในบ้าน

ขี้ริ้วห่อทอง แปลว่า คนถ่อมตัว

คงเส้นคงวา แปลว่า พูดจริงไม่กลับกรอก

คันไม้คันมือ แปลว่า อยากจะตบตีสู้กัน

เค็มอย่างเกลือ แปลว่า ไม่ยอมเสียเปรียบใคร

คาหนังคาเขา แปลว่า จับได้ทันควัน

คอเป็นเอ็น แปลว่า ชอบเถียง

ควํ่าบาตร แปลว่า วิธีการทำโทษของพระ

คมในฝัก แปลว่า ไม่โอ้อวด

ความวัวไม่ทันหายความควายเข้ามาแทรก แปลว่า เรื่องหนึ่งพึ่งเสร็จก็มีเรื่องหนึ่งเข้ามา

คบคนให้ดูหน้าซื้อผ้าให้ดูเนื้อ แปลว่า จะคบใครให้ดูที่นิสัยใจคอ

งมเข็มในมหาสมุทร แปลว่า งานที่ทำได้ยากและลำำบาก

จับปลาสองมือ แปลว่า ทำงานสองอย่าง

จับเสือมือเปล่า แปลว่า ทำงานโดยไม่ต้องลงทุน

เจ้าชู้ประตูดิน แปลว่า คนที่เจ้าชู้ทุกทาง

ฉลาดแกมโกง แปลว่า ฉลาดในทางที่ไม่ดี

ใช้ไม้นวม แปลว่า ใช้วิธีประเพณีประนีประนอม

ใช้นํ้าเย็น แปลว่า ขอร้องแต่ดี ๆ

ชุบมือเปิบ แปลว่า ฉวยโอกาศ

ใช้ไม้แข็ง แปลว่า ใช้วิธีรุนแรง

ได้หน้าลืมหลัง แปลว่า ได้สิ่งหนึ่งลืมสิ่งหนึ่ง

บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น แปลว่า จะทำอะไรก็ค่อย ๆ พูดจากัน อย่าให้มีเรื่องมีราวเดือดร้อนเกิดขึ้นกีบอีกฝ่ายหนึ่ง

ปลาใหญ่กินปลาเล็ก แปลว่า คนที่มีอำนาจราชศักดิ์หรือเป็นใหญ่เป็นโตก็ย่อมข่มคนที่เป็นผู้น้อย

ปั้นน้ำเป็นตัว แปลว่า คนที่พูดอะไรไม่เป็นเรื่องจริงหรือไม่มีมูล

ปิดทองหลังพระ แปลว่า การทำอะไรที่สำคัญ ๆ แต่ไม่มีคนมองเห็นสิ่งที่ตนเป็นผู้ทำ

สอนจระเข้ว่ายน้ำ แปลว่า การชี้ทางหรือสอนให้คนที่เป็นอยู่แล้วให้เก่งหรือชำนาญขึ้นไปอีก แต่มักมุ่งหมายโดยเฉพาะถึงการสอน หรือแนะนำคนชั่วประพฤติไม่ดีส่วนมาก

คำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์ ตามรูปศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ ในปัจจุบัน คำราชาศัพท์หมายถึง ถ้อยคำสุภาพ ไพเราะที่ใช้ให้เหมาะกับฐานะของบุคคลในสภาพสังคมไทย ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุ ขุนนางข้าราชการ และสุภาพชน



ที่มาของคำราชาศัพท์

๑.รับมาจากภาษาอื่น

ภาษาเขมร เช่น เสวย เขนย เสด็จ โปรด ฯลฯ

ภาษาบาลี สันสกฤต เช่นเนตร หัตถ์ โอรส อาพาธ ฯลฯ

๒.การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยการประสมคำ เช่น ตั้งเครื่อง ลูกหลวง

ซับพระพักตร์ ฯลฯ

วิธีใช้ราชาศัพท์ที่ควรสังเกต

๑.การใช้ “ทรง” มีหลัก ๓ ประการ

๑.๑นำหน้าคำกริยาสามัญทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น

ทรงเจิม ทรงออกกำลังกาย ทรงใช้ ทรงวิ่ง เป็นต้น

๑.๒นำหน้าคำนามสามัญบางคำทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่น

ทรงดนตรี ทรงช้าง ทรงเครื่อง ทรงรถ เป็นต้น

๑.๓นำหน้าคำนามราชาศัพท์ทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่น

ทรงพระอักษร ทรงพระดำเนิน ทรงพระราชนิพนธ์ ทรงพระราชดำริ เป็นต้น

คำกริยาที่เป็นคำราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ใช้ “ทรง” นำหน้า เช่น เสด็จ เสวย โปรด เป็นต้น

๒.การใช้คำ “พระบรม” “พระราช” “พระ”

๒.๑ คำ “พระบรม”ใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น พระบรมราชานุเคราะห์ พระปรมาภิไธย พระบรมราโชวาท ฯลฯ

๒.๒ “พระราช” ใช้นำหน้าคำนาม แสดงว่าคำนามนั้นเป็นของพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เช่นพระราชานุญาต พระราชวโรกาส พระราชประวัติ ฯลฯ

๒.๓ คำ “พระ” ใช้นำหน้าคำนามที่เป็นอวัยวะ ของใช้ เช่น

พระนลาฏ พระชานุ พระขนง ฯลฯ

๓.การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามสำนวนไทย ไม่นิยมเลียนแบบสำนวนต่างประเทศ ได้แก่

๓.๑ถ้ามาต้อนรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องใช้ว่า ประชาชนมาเฝ้า ฯ รับเสด็จ คำว่า”เฝ้าฯรับเสด็จ” ย่อมาจาก”เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ”ไม่ใช้คำว่า”ถวายการต้อนรับ”

๓.๒คำว่า”คนไทยมีความจงรักภักดี” หรือ”แสดงความจงรักภักดี” ใช้ได้ แต่ไม่ควรใช่คำว่า “ถวายความจงรักภักดี”

๔.การใช้ คำราชาศัพท์ ให้ถูกต้องตามเหตุผล

๔.๑คำว่า “อาคันตุกะ” “ราชอาคันตุกะ” และ”พระราชอาคันตุกะ” ใช้ดังนี้ คือให้ดูเจ้าของบ้านเป็นสำคัญ เช่นแขกของพระมหากษัตริย์ ใช้คำว่า

”ราช”นำหน้า ถ้าไม่ใช่แขกของพระมหากษัตริย์ก็ไม่ต้องมี”ราช”นำหน้า

๔.๒ในการถวายสิ่งของแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ถ้าเป็นของเล็กยกได้ก็ใช้ “ทูลเกล้าฯ ถวาย”

ถ้าเป็นของใหญ่ยกไม่ได้ใช้ “น้อมเกล้า ฯ ถวาย”

สภาวะแวดล้อม

จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีศักยภาพในการพัฒนา ดังนี้

1) เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้มากที่สุด เนื่องจากทุ่งกุลาร้องไห้ถือว่า
เป็นพื้นที่ผลิตข้าวหอมมะลิชั้นดีที่สุดและมีเอกลักษณ์ความหอมเฉพาะตัวเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สามารถที่จะพัฒนาและส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางการผลิตและจำหน่ายข้าวหอมมะลิสู่ตลาดโลกได้

2) เป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวในเชิงประวัติศาสตร์โบราณสถาน/โบราณวัตถุ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประเพณี และศาสนา โดยได้มุ่งเน้นส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงวิถีพุทธ ด้านวัฒนธรรม ประเพณี และศาสนา ซึ่งปัจจุบันกำลังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก

3) เป็นจังหวัดที่มีความสงบเรียบร้อย ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งไม่มีปัญหาด้านอาชญากรรมที่รุนแรง



การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมของจังหวัด ได้ประเมินศักยภาพในปัจจุบันและโอกาสในการพัฒนาในอนาคตของจังหวัด ประกอบด้วย การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม (SWOT Analysis) รวมทั้งการวิเคราะห์ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันนอกเฉียงเหนือ ยุทธศาสตร์รายสาขา และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นจังหวัด ซึ่งมีรายละเอียดในการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมของจังหวัด ดังนี้



SWOT

จุดแข็ง (Strength)

1. มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิมาก

2. ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้มีชื่อเสียงทั่วโลก

3. มีแรงงานจำนวนมากและราคาถูก

4. เกษตรกรมีความชำนาญในการปลูกข้าวหอมมะลิ

5. มีการรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี ศาสนาและวัฒนธรรม

6. มีการท่องเที่ยวด้านประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

7. มีโรงสีข้าวขนาดใหญ่จำนวนมาก

8. มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง คือ เจดีย์มหาชัยมงคล
จุดอ่อน (Weakness)

1. ประชาชนมีโอกาสทางการศึกษาต่ำ และไม่มีสิ่งจูงใจในการเรียนรู้

2. ระบบชลประทานและการบริหารจัดการน้ำยังไม่ทั่วถึง

3. เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสิ่งยั่วยุต่างๆ

4. มีการเคลื่อนย้ายแรงงานภาคเกษตรออกนอกพื้นที่

5. ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในความเป็นอยู่ในสังคม

6. องค์กรเกษตรกรยังไม่เข้มแข็ง

7. การมีส่วนร่วมของสังคมไม่ทั่วถึงและเข้มแข็ง

8. การคมนาคมสู่แหล่งท่องเที่ยวไม่สะดวก

9. ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม


12

SWOT

โอกาส (Opportunity)

1. มีการตื่นตัวการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

2. รัฐบาลมีการกระจายอำนาจและงบประมาณ

3. ไม่มีคู่แข่งทางการค้า (ข้าวหอมมะลิ) ระดับนานาชาติ

4. แนวโน้มตลาดให้ความสนใจเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัย

5. ขอจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ข้าวหอมมะลิ (GI) ในสหภาพยุโรป (EU)

6. ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ข้าวหอมมะลิ (GI) ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา

7. กระแสความตื่นตัวในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

8. ความนิยมในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศาสนามากขึ้น
อุปสรรค (Threat)

1. การเมืองไม่มีเสถียรภาพ

2. โรคระบาด ในคน เช่น ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ 2009

3. ต้นทุนในการผลิตมีแนวโน้มสูงขึ้น เช่น น้ำมัน ไฟฟ้า ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง

4. ตลาดต่างประเทศมีการแข่งขันสูง (ข้าวชนิดอื่นราคาถูกกว่า)

5. เศรษฐกิจโลกตกต่ำ

6. ภัยธรรมชาติ ฝนแล้ง น้ำท่วม ภาวะโลกร้อน




บุคคลสำคัญ

จากการเรียนวิชาสังคมศึกษา มีเรื่องราวต่างๆ
ของไทยที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในเรื่องของ
บุคคลสำคัญของไทย นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึง
ปัจจุบัน พวกท่านเหล่านี้ล้วนแต่ได้ทำคุณประโยชน์
ในด้านต่างๆ ให้กับ ไทยมากมาย ซึ่งเรื่องราวของ
แต่ละท่านล้วนทรงคุณค่าควรแก่การยกย่อง
และประวัติของท่านแต่ละท่านล้วนให้ความรู้
แตกต่างกันในแต่ละด้าน เช่น ด้านการปกครอง
ด้านการทหาร ด้านการต่างประเทศ เป็นต้น
ดังนั้นจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นการศึกษา
รวบรวมข้อมูลที่ควรรู้ เพื่อสืบทอด เรียนรู้ถึงประวัติ
และผลงานต่างๆ ของบุคคลสำคัญของไทย
ให้เป็นระบบ และมีรูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ
และง่ายต่อการศึกษาอีกด้วย
นอกจากนี้ต้องขอขอบพระคุณ
ท่านอาจารย์ปรางค์สุวรรณ ศักดิ์โสภณกุล
อาจารย์ประจำวิชาสังคมศึกษา (ส43105)
ที่เป็นที่ปรึกษาและให้การสนับสนุน พวกเราเป็นอย่างดีค่ะ
หากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

ขนมไทยมีกี่ชนิด

ขนมไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานที่ปราณีตบรรจงของขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ

ประวัติความเป็นมาของขนมไทยในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมเฉพาะวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนบประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม

ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ งานศิริมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมีฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น

สมัยรัตนโกสินทร์ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวไว้ว่าในงานสมโภชพระแก้วมรกตและฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้มีเครื่องตั้งสำรับหวานสำหรับพระสงฆ์ 2,000 รูป ประกอบด้วย ขนมไส้ไก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง กล้วยฉาบ ล่าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และขนมตะไล

ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่าก์ เขียนโดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ในหนังสือเล่มนี้ มีรายการสำรับของหวานเลี้ยงพระได้แก่ ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมหม้อแกง ขนมหันตรา ขนมถ้วยฟู ขนมลืมกลืน ข้วเหนียวแก้ว วุ้นผลมะปราง

ในสมัยต่อมาเมื่อการค้าเจริญขึ้นในตลาดมีขนมนานาชนิดมาขาย ทั้งขายอยู่กับที่ แบกกระบุง หาบเร่ และมีการปรับปรุงการบรรจุหีบห่อไปตามยุคสมัย เช่นในปัจจุบันมีการบรรจุในกล่องโฟมแทนการห่อด้วยใบตองในอดีต[1]

ราดหน้าทำอย่างไร

* เส้นก๋วยเตี๋ยว (ใหญ่) 1/2 ถ้วยตวง

* เนื้อหมูหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ 300 กรัม

(สามารถใช้กุ้งหรือไก่แทนได้)

* ผักคะน้า 2 ต้น (หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ)

* กระเทียมสับละเอียด 4 กลีบ

* น้ำซุปไก่ 3/4 ถ้วยตวง (หรือน้ำเปล่า)

* แป้งข้าวโพด 2 ช้อนโต๊ะ

* ซิอิ๊วดำหวาน 3 ช้อนโต๊ะ

* เต้าเจี๊ยว 1 ช้อนโต๊ะ

* น้ำตาล 1/2 ช้อนโต๊ะ

* น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ

* พริกไทยป่น 1 ช้อนชา




วิธีทำทีละขั้นตอน

1. ถ้า้ใช้เส้นก๋วยเตี๋ยวแบบแห้ง ต้องนำไปแช่ในน้ำอุ่นประมาณหนึ่งชั่วโมงก่อนใช้ แล้วจึงนำไปสะเด็ดน้ำ


2. ผสมเนื้อหมู, น้ำปลา (1 ช้อนโต๊ะ) , พริกไทย และแป้งข้าวโพด (1 ช้อนโต๊ะ) เข้าด้วยกัน หมักไว้อย่างน้อย 30 นาที


3. ตั้งน้ำมันในกระทะด้วยไฟร้อนปานกลาง ใส่เส้นก๋วยเตี๋ยวลงไปผัด เติมซิอิ๊วดำหวาน ผัดจนเส้นก๋วยเตี๋ยวและซิอิ๊วดำเข้ากันทั่วจึงปิดไฟ และนำเส้นออกมาใส่จานเตรียมไว้


4. ใส่น้ำมันในกระทะและนำไปตั้งไฟ เติมกระเทียมและผัดจนหอม ใส่หมูและผัดต่อจนเกือบสุกจึงใส่คะน้าลงไป


5. ผัดจนคะน้าสุก ใส่น้ำซุปไก่และเต้าเจี๊ยวลงไป


6. รอจนกระทั่งน้ำเริ่มเดือด จึงใส่น้ำแป้ง (นำแป้งข้าวโพด 1 ช้อนโต๊ะไปผสมกับน้ำ คนให้ละลายดี) ระหว่างใส่น้ำแป้งต้องคนอย่างต่อเนื่อง จนน้ำซุปเริ่มข้น ปรุงรสด้วยน้ำตาลและน้ำปลา ปิดไฟ


7. ราดน้ำซุปบนเส้นก๋วยเตี๋ยวที่จัดใส่จานไว้แล้ว เสริฟทันทีขณะที่ยังร้อนพร้อมเครื่องปรุง (พวงพริก)


การทำโต๊ะทำอย่างไร

การทำโต๊ะงานไม้ มีขั้นตอนที่ค่อนข้างต้องใช้เวลา แต่ก็พอจะแบ่งได้เป็นกลุ่มง่าย3กลุ่มคือ

ขนาดโต๊ะ : กว้าง 70 ซม. ยาว 150 ซม. สูง 80 ซม.

ประเภทไม้ : ไม้ยางพารา

1 แผงขา - 2แผง
นำขาทั้ง4ขามาทำเดือย โดยใช้เครื่องเลื่อย หรือใช้สิ่วและเลื่อยก็สามารถทำเดือยได้เช่นเดียวกันขึ้นอยู่กับว่ามีเครื่องมือใด

เจาะรู12มม ที่ขาเพื่อร้อยน็อตยึดยันขาเข้ากับแผงขา(ทำรอไว้ก่อน)และบากร่องเพื่อเป็นบ่ารับยันขาเอาไว้ก่อนเลย

นำขาล่างมาแต่งโค้งตามรูปทรงด้วยเครื่องขัดกระดาษทราย

จากนั้นก็มาทำร่องเดือยด้วยสิ่วหรือเครื่องเจาะเหลี่ยม หรือเร้าเตอร์ก็ทำได้เช่นกัน

ก็จะได้ชิ้นส่วนครบและพร้อมเพื่อประกอบ

ทดลองประกอบแบบยังไม่ต้องใส่กาวเพื่อตรวจเช็คว่ามีปัญหาใดบ้าง เพื่อสามารถแก้ไขได้ทัน

เมื่อได้เดือยและทำร่องเดือยแล้วก็นำมาประกอบเข้าด้วยกัน(ควรทดลองสวมดูก่อน) การทากาวทาให้ทั่ว และไม่มากจนเลอะเทอะใช้กาวลาเท็กซ์หรือกาวผงก็ตามสะดวก

ประกอบเข้าด้วยกันด้วยแม่แรง วัดเส้นทแยงมุมจับฉาก และเช็ดกาวออกทันทีด้วยผ้าชุบน้ำแห้งหมาด

มั่นใจว่าได้ฉาก ก่อนตอกสลักเดือย

จากนั้นเป็นการยึดเดือยให้แข็งแรงโดยการเจาะเพื่อตอกสลักเดือยป้องกันเดือยหลุดหรือโยก

ตอกสลักเดือยเส้นผ่าศูนย์กลาง 10มม ทะลุผ่านและตัดออกด้วยเลื่อยลอ

จะได้แผงขาที่ประกอบแล้ว 2 แผง

การทำชุดหน้าโต๊ะ

เตรียมกรอบ พนังยาว-สั้น และทำการยึดเข้าด้วยกันด้วยเกลียวปล่อย 1 1/2นิ้ว #8 ทากาวลาเท็กซ์ และเช็ดกาวออกด้วยผ้าชุบน้ำหมาดทั้งนี้ต้องเช็คขนาดหน้าโต๊ะก่อนที่จะประกอบจริง

เจาะดอกผ่านเพื่อยึดคานเข้ากับหน้าโต๊ะ พร้อมกับผายปากด้วยสว่าน 10มม (เพื่อให้หัวเกลียวปล่อยฝังเข้ายังด้านใน)

ทาด้วยกาวลาเท็กซ์และทำการยึดเข้ากับหน้าโต๊ะ ดลอดแนว

ไสปรับขอบโต๊ะด้วยกบผิว แล้วขัดแต่งให้เสมอด้วยเครื่องขัดกระดาษทราย #60

การติดปากกาไม้

เตรียมก้อนปากกาที่ต้องเพลาะไม้ให้หนา 5-6 ซม และชุดปากกาเหล็ก

เตรียมเจาะเหล็กประคอง (บางที่ใช้ตัวประคองไม้)โดยใช้ดอกใบพายให้มีระยะหลวมเล็กน้อย(อย่าให้คับเกินไป)

ตอกเหล็กประคองเข้ากับก้อนปากกา(สวมอัด)ส่วนที่เห็นเป็นรูนั่นคือรูที่ใส่ปากกาเหล็ก

ยึดปากกาโดยไขตะปูเกลียวที่เหล็กประกับ เข้ากับก้อนปากกาไม้

นำชุดก้อนปากกาประกอบกับชุดประคองปากกาเหล็ก ทดลองหมุนดูก่อน

นำมาประกอบกับชุดหน้าโต๊ะ

ทดสอบการทำใช้ปากกา เช่นการไสกบ



ก็จะได้โต๊ะทำงานไม้ หรือโต๊ะเอนกประสงค์ที่มีความแข็งแรงมาก ส่วนสีก็เลือกทำกันตามใจชอบ สีธรรมชาติ สีย้อม หรือลงน้ำมันรักษาเนื้อไม้ ก็ตามใจชอบ



2 ยันขา - 2ตัว

3 หน้าโต๊ะ - 1ชุด

การทำชุดแผงขา

ดนตรีไทยมีทั้งหมดกี่ชิ้น

ในสมัยกรุงสุโขทัย ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่น วรรณคดี "ไตรภูมิพระร่วง" กล่าวถึงเครื่องดนตรี ได้แก่ ฆ้อง กลอง ฉิ่ง แฉ่ง (ฉาบ) บัณเฑาะว์ พิณ ซอ ปี่ไฉน ระฆัง กรับ และกังสดาล

สมัยกรุงศรีอยุธยา มีวงปี่พาทย์ที่ยังคงรูปแบบปี่พาทย์เครื่องห้าเหมือนเช่นสมัยกรุงสุโขทัย แต่เพิ่มระนาดเอกเข้าไป นับแต่นั้นวงปี่พาทย์จึงประกอบด้วย ระนาดเอก ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด ตะโพน ฉิ่ง ส่วนวงมโหรีพัฒนาจากวงมโหรีเครื่องสี่ เป็นมโหรีเครื่องหก เพิ่มขลุ่ย และรำมะนา รวมเป็นมี ซอสามสาย กระจับปี่ ทับ (โทน) รำมะนา ขลุ่ย และกรับพวง

ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มจากรัชกาลที่ 1 เพิ่มกลองทัดเข้าวงปี่พาทย์อีก 1 ลูก รวมเป็น 2 ลูก ตัวผู้เสียงสูง ตัวเมียเสียงต่ำ รัชกาลที่ 2 ทรงพระปรีชาสามารถการดนตรี ทรงซอสามสาย คู่พระหัตถ์คือซอสายฟ้าฟาด และทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทย บุหลันลอยเลื่อน รัชสมัยนี้เกิดกลองสองหน้าพัฒนามาจากเปิงมางของมอญ พอในรัชกาลที่ 3 พัฒนาเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก และฆ้องวงเล็กให้คู่กับฆ้องวงใหญ่

รัชกาลที่ 4 เกิดวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่พร้อมการประดิษฐ์ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก รัชกาลที่ 5 สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงคิดค้นวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ ในรัชกาลที่ 6 นำวงดนตรีของมอญเข้าผสมเรียกวงปี่พาทย์มอญโดยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มีการนำอังกะลุงเข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรก และนำเครื่องดนตรีต่างชาติ เช่น ขิม ออร์แกนของฝรั่งมาผสมเป็นวงเครื่องสายผสม แล้วจึงเป็นดนตรีไทยที่เราได้เห็นจนถึงปัจจุบันนี้ ทั้งความแตกต่างระหว่างวงต่างๆ ผู้ประพันธ์ท่านต่างๆ

[แก้] ลักษณะลักษณะการประสานเสียงของดนตรีไทยตามแบบโบราณนั้น ใช้หลัก อาศัยสีเสียง (Tone color) ของเครื่องดนตรีเป็นเครื่องแยกแต่ละแนวทำนอง คือให้เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นประสานเสียงกันแบบแนวนอน คือให้เสียงลูกตกตรงกัน มากกว่าประสานแบบแนวตั้งที่อาศัยคอร์ด (chord) เป็นพื้นฐานหลักตามแบบสากล

[แก้] ลีลาดนตรีไทยลีลาเครื่องดนตรีไทย หมายถึงท่วงท่าหรือท่วงทำนองที่เครื่องดนตรีต่างๆได้บรรเลงออกมา สำหรับลีลาของเครื่องดนตรีไทยแต่ละเครื่องที่เล่นเป็นเพลงออกมา บ่งบอกถึงคุณลักษณะและพื้นฐานอารมณ์ที่จากตัวผู้เล่น เนื่องมาจากลีลาหนทางของดนตรีไทยนั้นไม่ได้กำหนดกฏเกณฑ์ไว้ตายตัวเหมือนกับดนตรีตะวันตก หากแต่มาจากลีลาซึ่งผู้บรรเลงคิดแต่งออกมาในขณะเล่น เพราะฉะนั้นในการบรรเลงแต่ละครั้งจึงอาจมีทำนองไม่ซ้ำกัน แต่ยังมี ความไพเราะและความสอดคล้องกับเครื่องดนตรีอื่นๆอยู่

ลักษณะเช่นนี้ได้อิทธิพลมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่มี"กฎเกณฑ์" อยู่ที่การวาง "กลอน" ลงไปใน "ทำนองหลัก" ในที่นี้ หมายถึงในเพลงไทยเดิมนั้นเริ่มต้นด้วย "เนื้อเพลงแท้ๆ" อันหมายถึง "เสียงลูกตก" ก่อนที่จะปรับปรุงขึ้นเป็น "ทำนองหลัก" หรือที่เรียกว่า "เนื้อฆ้อง" อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งในชั้นเนื้อฆ้องนี้ส่วนใหญ่จะยังคงเป็นทำนองห่างๆ ยังไม่มีความซับซ้อนมาก แต่ยังกำหนดลักษณะในการเล่นไว้ให้ผู้บรรเลงแต่ละคนได้บรรเลงด้วยลีลาเฉพาะของตนในกรอบนั้นๆ โดยลีลาที่กล่าวมาก็หมายถึง "กลอน" หรือ "หนทาง" ต่างๆที่บรรเลงไปนั่นเอง

[แก้] วงดนตรีไทยดนตรีไทยมักเล่นเป็นวงดนตรี มีการแบ่งตามประเภทของการบรรเลงที่เป็นระเบียบมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันเป็น 3 ประเภท คือ

วงปี่พาทย์
ประกอบด้วยเครื่องตีเป็นสำคัญ เช่น ฆ้อง กลอง และมีเครื่องเป่าเป็นประธานได้แก่ ปี่ นอกจากนั้นเป็นเครื่อง วงปี่พาทย์ยังแบ่งไปได้อีกคือ วงปี่พาทย์ชาตรี,วงปี่พาทย์ไม้แข็ง,วงปี่พาทย์เครื่องห้า,วงปี่พาทย์เครื่องคู่,วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่,วงปี่พาทย์ไม้นวม,วงปี่พาทย์มอญ,วงปี่พาทย์นางหงส์

วงเครื่องสาย
เครื่องสาย ได้แก่ เครื่องดนตรี ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีสายเป็นประธาน มีเครื่องเป่า และเครื่องตี เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ เป็นต้น ปัจจุบันวงเครื่องสายมี 4 แบบ คือ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว,วงเครื่องสายเครื่องคู่,วงเครื่องสายผสม,วงเครื่องสายปี่ชวา

วงมโหรี
ในสมัยโบราณเป็นคำเรียกการบรรเลงโดยทั่วไป เช่น "มโหรีเครื่องสาย" "มโหรีปี่พาทย์" ในปัจจุบัน มโหรี ใช้เป็นชื่อเรียกเฉพาะวงบรรเลงอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีเครื่อง ดีด สี ตี เป่า มาบรรเลงรวมกันหมด ฉะนั้นวงมโหรีก็คือวงเครื่องสาย และวงปี่พาทย์ ผสมกัน วงมโหรีแบ่งเป็น วงมโหรีเครื่องสี่,วงมโหรีเครื่องหก,วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก,วงมโหรีเครื่องคู่

[แก้] เครื่องดนตรีไทยเครื่องดนตรีไทยแบ่งตามลักษณะการทำให้เกิดเสียงได้เป็น 4 ประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า

[แก้] เครื่องดีดจะเข้
กระจับปี่
เต้า
พิณ
ซึง
[แก้] เครื่องสีซอด้วง
ซอสามสาย
ซออู้
สะล้อ
ซอแฝด
รือบับ
ซอกันตรึม
[แก้] เครื่องตีกรับ ได้แก่ กรับพวง และ กรับเสภา
ระนาด ได้แก่ ระนาดเอก,ระนาดทุ้ม,ระนาดเอกมโหรี,ระนาดทุ้มมโหรี,ระนาดเอกเหล็ก,ระนาดทุ้มเหล็ก,ระนาดแก้ว
ฆ้อง ได้แก่ ฆ้องมโหรี,ฆ้องมอญ,ฆ้องวงใหญ่ ,ฆ้องวงเล็ก,ฆ้องโหม่ง,ฆ้องกระแต,ฆ้องระเบ็ง
ขิม
ฉาบ
ฉิ่ง
กลอง ได้แก่ กลองแขก,กลองมลายู,ตะโพน,ตะโพนมอญ,กลองทัด,กลองตุ๊ก,กลองยาว,มโหระทึก,บัณเฑาะว์,โทน,รำมะนา,โทนชาตรี,กลองสองหน้า,เปิงมางคอก,กลองมังคละ
[แก้] เครื่องเป่าขลุ่ย ได้แก่ ขลุ่ยหลิบ,ขลุ่ยเพียงออ,ขลุ่ยอู้
ปี่ ได้แก่ ปี่ใน,ปี่นอก,ปี่ไฉน,ปี่ชวา,ปี่มอญ

[แก้] เพลงดนตรีไทยแบ่งได้เป็น 4 แบบคือ

เพลงหน้าพาทย์ ได้แก่ เพลงที่บรรเลงประกอบกิริยาเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งของมนุษย์ ของสัตว์ ของวัตถุต่าง ๆ และอื่น ๆ
เพลงรับร้อง ที่เรียกว่าเพลงรับร้องก็ด้วยบรรเลงรับจากการร้อง คือ เมื่อคนร้องได้ร้องจบไปแล้วแต่ละท่อน ดนตรีก็ต้องบรรเลงรับในท่อนนั้น ๆ โดยมากมักเป็นเพลงอัตรา 3 ชั้นและเพลงเถา เช่น เพลงจระเข้หางยาว 3 ชั้น เพลงสี่บท 3 ชั้น และเพลงบุหลันเถา เป็นต้น
เพลงละคร หมายถึงเพลงที่บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร และมหรสพต่าง ๆ ซึ่งหมายเฉพาะเพลงที่มีรัองและดนตรีรับเท่า นั้น เพลงละครได้แก่เพลงอัตรา 2 ชั้น เช่น เพลงเวสสุกรรม เพลงพญาโศก หรือชั้นเดียว เช่น เพลงนาคราช เพลงตะลุ่มโปง เป็นต้น
เพลงเบ็ดเตล็ด ได้แก่ เพลงเล็ก ๆ สั้น ๆ สำหรับใช้บรรเลงเป็นพิเศษ เช่น บรรเลงต่อท้ายเพลงใหญ่เป็นเพลงลูกบท หรือเพลงภาษา ต่าง ๆ ซึ่งบรรเลงเพื่อสนุกสนาน

การตกแต่งห้องน้ำ

การตกแต่งห้องน้ำ
ปัจจุบันห้องน้ำก็เป็นเช่นเดียวกับห้องอื่นๆ ภายในบ้านที่ต้องได้รับการตกแต่ง เพราะถือว่าห้องน้ำเป็นห้องที่สำคัญที่ทุกคนต้องเข้ามาใช้งาน กิจกรรมภายในห้องน้ำอาจทำให้เกิดกลิ่น หรือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ทำให้บางครั้งผู้ใช้งานอาจเกิดความไม่พึงพอใจขณะใช้งานในห้องน้ำ ในปัจจุบันมีการตกแต่งห้องน้ำด้วยวิธีการที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งาน ย่อมทำให้ทุกคนมีความสุขขณะที่อาบน้ำหรือขณะที่กำลังใช้งานสุขภัณฑ์ก็ย่อมทำให้เกิดความสบายใจได้ ห้องน้ำในปัจจุบันได้รับการเอาใจใส่และการตกแต่งเพิ่มมากขึ้น โดนเฉพาะการตกแต่งให้สอดคล้องกับธรรมชาติ เช่น การนำกระถางต้นไม้มาประดับภายในห้องน้ำ มีการนำงานแกะสลัก ภาพวาดมาตั้งภายในห้องน้ำเพื่อทำให้ห้องน้ำดูสวยงามน่าใช้เพิ่มมากขึ้น มีการวางวัสดุที่ให้กลิ่นหอมเพื่อเป็นการทำอโรมาเธอราปีเพื่อให้เกิดความสบายใจและผ่อนคลาย แต่สำหรับบ้านที่มีห้องน้ำคับแคบ หรือเป็นห้องน้ำภายในห้องนอนที่ไม่ได้มีพื้นที่กว้างมากนัก การตกแต่งมักจะออกไปในแนวการเลือกวัสดุสำหรับการทำห้องน้ำ เช่น การเลือกกระจก ลวดลายของกระจก ลวดลายของกระเบื้อง การเลือกม่านมู่ลี่ แสงไฟที่มักจะเลือกให้มีสีสบายตาช่วยให้เกิดการผ่อนคลายอย่างแท้จริง

พระพุทธรูปทำมาจากอะไร

ประติมากรรมไทย หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกโดยกรรมวิธี การปั้น การแกะสลัก การหล่อ หรือการประกอบเข้าเป็นรูปทรง 3 มิติ ซึ่งมีแบบอย่างเป็นของไทยโดยเฉพาะ วัสดุที่ใช้ในการสร้างมักจะเป็น ดิน ปูน หิน อิฐ โลหะ ไม้ งาช้าง เขาสัตว์ กระดูก ฯลฯ

ผลงานประติมากรรมไทย มีทั้งแบบ นูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว งานประติมากรรมนูนต่ำและนูนสูงมักทำเป็นลวดลายประกอบกับสถาปัตยกรรม เช่นลวดลายปูนปั้น ลวดลายแกะสลักประดับตามอาคารบ้านเรือน โบสถ์ วิหาร พระราชวัง ฯลฯ นอกจากนี้ ยังอาจเป็นลวดลายตกแต่งงานประติมากรรมแบบลอยตัวด้วย

สำหรับงานประติมากรรมแบบลอยตัว มักทำเป็นพระพุทธรูป เทวรูป รูปเคารพต่างๆ (ศิลปะประเภทนี้จะเรียกว่า ปฏิมากรรม) ตุ๊กตาภาชนะดินเผา ตลอดจนถึงเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามสกุลช่างของแต่ละท้องถิ่น หรือแตกต่างกันไปตามคตินิยมในแต่ละยุคสมัย โดยทั่วไปแล้วเรามักศึกษาลักษณะของสกุลช่างที่เป็นรูปแบบของศิลปะสมัยต่างๆ ในประเทศไทยจากลักษณะของพระพุทธรูป เนื่องจากเป็นงานที่มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จัดสร้างอย่างประณีตบรรจง ผู้สร้างมักเป็นช่างฝีมือที่เชี่ยวชาญที่สุดในท้องถิ่นหรือยุคสมัยนั้น และเป็นประติมากรรมที่มีวิธีการจัดสร้างอย่าง ศักดิ์สิทธิ์เปี่ยมศรัทธา ลักษณะของประติมากรรมของไทยในสมัยต่างๆ สามารถลำดับได้ดังนี้

ศิลปะทวารวดี
ศิลปะศรีวิชัย
ศิลปะลพบุรี
ศิลปะล้านนา

ความเป็นมาของคำราชาศัพท์


ราชาศัพท์ เป็นระเบียบการใช้คำพูดของไทยให้สุภาพตามชั้นของบุคคลซึ่งแบ่งเป็นห้าชั้น ได้แก่ 1) พระราชา 2) เจ้านาย หรือพระราชวงศ์ 3) พระสงฆ์ของศาสนาพุทธ 4) ข้าราชการ และ 5) สุภาพชนทั่วไป

ความเห็นของนักภาษาศาสตร์ไทยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพมีลายพระหัตถ์ไปถึงพลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ว่า "...ราชาศัพท์ดูเป็นคำที่ผู้เป็นบริวารชนใช้สำหรับผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่...มีเค้าจะสังเกตในคำจารึกและหนังสือเก่าเห็นได้ว่า ราชาศัพท์ใช้ในกรุงศรีอยุธยาดกกว่าที่อื่น ยิ่งเหนือขึ้นไป (หมายถึง ในสมัยก่อนอยุธยา) ยิ่งใช้น้อยลงเป็นลำดับ" โดยทรงสันนิษฐานด้วยว่า ราชาศัพท์เกิดขึ้นในอาณาจักรละโว้สมัยที่เขมรปกครอง ส่วนในประเทศไทยในนั้นน่าจะริเริ่มแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถซึ่งกวาดต้อนชาวเขมรเข้ามาเป็นชนชั้นล่างในราชอาณาจักรอยุธยามาก ราชาศัพท์ในไทยจึงเป็นคำที่ชนชั้นล่างใช้แก่ชนชั้นสูงกว่า และยังแสดงพระวิจารณ์อีกว่า "...เมื่อแรกตั้งราชาศัพท์ ภาษาที่ใช้กันในพระนครศรีอยุธยายังสำส่อน เลือกเอาศัพท์ที่เข้าใจกันมากมาใช้ และ...ในครั้งแรกจะไม่มีมากมายนัก ต่อมาภายหลังจึงคิดเพิ่มเติมขึ้นด้วยเกิดคิดเห็นว่าของเจ้าควรจะผิดกับของไพร่ให้หมด..." [1]

พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ราชบัณฑิต มีพระปาฐกถาเรื่อง "กถาเรื่องภาษา" ว่า "...นอกจากคำพูดและวิธีพูดทั่วไปแล้ว ยังมีคำพูดและวิธีพูดสำหรับชนเฉพาะหมู่เฉพาะเหล่าอีกด้วย เช่น ราชาศัพท์ของเรา เป็นต้น ฝรั่งไม่มีราชาศัพท์เป็นคำตายตัว แต่มีวิธีพูดยกย่องชั้นพระมหากษัตริย์หรือชั้นผู้ดีเหมือนกัน แต่วิธีพูดเช่นนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว โดยมากมักจะเป็นวิธีพูดอย่างสุภาพเท่านั้นเอง"[2

ประวัติของวัดพระแก้ว

พระบรมมหาราชวัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหารัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต ภายในวัดพระแก้วนี้มีสิ่งสำคัญและสวยงามอยู่มากมาย เช่น
พระอุโบสถหรือโบสถ์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทย มีระเบียงเดินได้รอบพระอุโบสถ

ผนังอุโบสถสวยงามมากเป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ปูนปั้นปิดทองประดับกระจก ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นทรงมณฑปปิดทองประดับกระจก บานประตูหน้าต่างทั้งหมดประดับมุกโดยฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ ๑ ภายในพระอุโบสถนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สำคัญคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพนับถือของชาวไทย คือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือที่คนไทยรียกกันจนติดปากว่า พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งแกะสลักมาจากหยกสีเขียวเข้มที่มีค่าและหายากมาก ถ้าใครเคยไปแถวสนามหลวง จะมองเห็นกำแพงยาวสีขาวล้อมรอบวัดอยู่วัดหนึ่ง ซึ่งเป็นวัดที่ใหญ่โตและสวยงามมากทีเดียว ทราบไหมว่าเป็นสัตว์อะไร ก็วัดพระแก้วหรือวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั่นไง เรามาดูกันดีกว่าวัดนี้มีความสำคัญและมีประวัติความเป็นมากันอย่างไร

วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวัง จึงทำให้มีลักษณะที่แปลกกว่าวัดอื่นๆ คือ ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ในวัดนี้เลยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ พร้อมกับหลายคนคงเคยไปนมัสการพระแก้สมรกตกันมาแล้ว เคยสังเกตไหมว่าพระแก้วมรกตจะมีเครื่องทรงที่แตกต่างกันไปในแต่ละฤดู ทราบหรือไม่ว่ามีเครื่องทรงฤดูอะไรบ้าง และจะเปลี่ยนเครื่องทรงเมื่อไร
เครื่องทรงของวัดพระแก้วมรกตมีเครื่องทรงฤดูร้อน เครื่องทรงฤดูฝน เครื่องทรงฤดูหนาว ซึ่งเครื่องทรงเหล่านี้ทำด้วยทองคำประดับเพชรและสิ่งมีค่าชนิดต่าง ๆ ถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญประการหนึ่งของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑

จนถึงรัชกาลปัจจุบันที่จะต้องเสด็จ ฯ ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงประจำฤดูด้วยตนเองซึ่งกำหนดวันเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกตมีดังนี้
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูร้อน
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูฝน
วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูหนาว

ความเป็นมาของสนามหลวง

สนามหลวง มีมาแต่แรกสถาปนากรุึงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 1 อยู่ระหว่างพระบรมมหาราชวัง (วังหลวง) กับพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เป็นบริเวณที่โล่ง จัดให้มีขึ้นอย่างสนามหน้าจักรวรรดิ ของพระนครศรีอยุธยา ใช้เป็นที่สร้างพระเมรุมาศ ถวายพระเพลิง พระบรมศพ พระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์ชั้นสูง คนทั่วไปจึงเรียกว่า "ทุ่งพระเมรุ" ถ้าไม่มีงานพระเมรุ ก็ปล่อยเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ราวหนองบึง ที่ชุมนุมของสัตว์เลื้อยคลาน เป็นอาหารของไพร่บ้านพลเมือง ที่ถูกเกณฑ์
บริเวณทุ่งพระเมรุนี้ เคยใช้เป็นที่ทำนาของหลวงด้วย ต่อรัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้เรียกว่า "ท้องสนามหลวง" เนื้อที่เดิม มีอยู่เพียงครึ่งเดียว ของปัจจุบัน เห็นได้จากแนวถนนผ่ากลาง ที่ตรงกับแนวถนน ระหว่างกำแพงวัดมหาธาตุ กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นเขตวังหน้า แต่เดิม

แผนที่กรุงเทพฯ ทำในสมัยรัชกาลที่ 5 พื้นที่ว่างยังไม่เป็นรูปโค้ง "สนามหลวง" อย่างทุกวันนี้ แผนที่กรุงเทพฯ ทำในสมัยรัชกาลที่ 6 มองเห็นพื้นที่ว่างรูปโค้ง "สนามหลวง"

เมื่อยกเลิกวังหน้า ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ขยายเนื้อที่ออกไปอีกครึีงหนึ่ง แล้วแต่งเป็นรูปไข่ อย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ปลูกต้นมะขาม 2 แถว โดยรอบ เคยใช้เป็นสนามกอล์ฟ สนามแข่งว่าว สนามแข่งม้า และเป็นที่สวนสนาม และในสมัยหลังเคยใช้เป็นที่ติดตลาดนัดด้วย
สนามหลวง เคยมีชีวิตและวิญญาณทางการเมืองสมัยใหม่ เริ่มจากเป็นแหล่ง ไฮต์ปาร์ก แสดงความคิดเห็นทางการเมือง เป็นแหล่งชุมนุงหาเสียงทางการเมือง เป็นที่ชุมนุมการเคลื่อนไหวทางการเมือง ตั้งแต่ยุค 14 ตุลาคม 2516 ท้ายสุด ยังเป็นศูนย์ความรุนแรงทางการเมือง เมื่อ 6 ตุลาคม 2519


สนามหลวง (ภาพจาก กรุงเทพฯ 2489 - 2539 กรมศิลปากร, 2539

ความเป็นมาของสนามหลวง สมัยแรก ๆ มีอยู่ในงานค้นคว้าศึกษา ของเทพชู ทับทอง จะขอคัดสรุปย่อมาลงไว้ดังนี้

ครั้งถึงรัชกาลที่ 3 ไทยกับญวนมีเรื่องวิทวาทกันเกี่ยวกับดินแดนเขมร พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้มีการทำนาที่ท้องสนามหลวง เพื่อที่จะให้ญวนเห็นว่า ไทยเป็นบ้านเมืองที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร มีเสบียงอาหารพร้อมที่จะทำสงครามกับญวนได้เต็มที่ เพราะแม้แต่ข้าง พระบรมมหาราชวัง ก็มีการทำนากัน

สมัยนั้น ท้องสนามหลวง เป็นที่ลุ่มกว่าสมัยนี้ จึงเหมาะแก่การทำนาดังกล่าว ดังนั้น พอถึงฤดูทำนาก็มีการวิดน้ำเข้านา ก่อคันดินทำเป็นคันนา ต่อฤดูแล้ง แผ่นดินแห้งแล้ว ถ้ามีการเมรุ จึงให้ลบคันดินนั้นเสีย


งานพระเมรุ พระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ท้องสนามหลวง งานพระเมรุ ของพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

เรื่องการทำนาที่ท้องสนามหลวงนี้ จากบันทึกรับสั่ง ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชนานุภาพ ที่ประทานหม่อมราชวงศ์สุมนชาติ สวัสดิกุล ทรงบันทึกว่า "คงจะได้เค้ามาจากเรื่องมหานิบาต เรื่องมโหสถ ตอนข้าศึก มาล้อมพระนคร หวังจะให้อดตาย พระมโหสถเป็นบัณฑิต จึงเอาข้าวปลูกลงใน กระบอกไม้ไผ่ พอต้นข้าวเจริญเติบโตสูงขึ้น ก็ส่งไปอวดข้าศึก เพื่อที่จะให้ข้าศึก รู้ว่า ในเมืองนี้ไม่มีวันอดข้าดอก ข้าศึกเมื่อเห็นว่า ล้อมไว้ก็ไม่สามารถเอาชนะได้ เพราะราษฎรไม่อดอยาก จึงได้เลิกทัพกลับไป"

เมื่อมีการทำนาที่ท้องสนามหลวงดังกล่าว พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯ ให้สร้างพลับพลาที่ประทับทอดพระเนตรการทำนา ที่ท้องสนามหลวง ทางด้านทิศตะวันตก ใกล้พระบรมมหาราชวัง แต่พลับพลาดังกล่าว เมื่อแรกสร้าง จะเป็นไม้ หรือก่ออิฐถือปูน อย่างไรก็ไม่ปรากฏชัด

รัชกาลที่ 4 ก็ยังใช้สนามหลวง เป็นที่ทำนาหลวง เหมือนอย่างในรัชกาลที่ 3 ตามเดิม แต่พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรังเกียจที่ราษฎร เรียกสนามหลวงว่า "ทุ่งพระเมรุ" พระองค์ จึงโปรดฯ ให้มีประกาศเรียกว่า "ท้องสนามหลวง" ตามประกาศ ดังนี้

"ที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น คนอ้างการซึ่งนาน ๆ มีครั้งหนึ่งแล เป็นการอวมงคล มาเรียกเป็นชื่อตำบลว่า "ทุ่งพระเมรุ" นั้น หาชอบไม่ ตั้งแต่นี้สืบไป ที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น ให้เรียกว่า "ท้องสนามหลวง" ถ้าผู้ที่ยังมิได้รู้หมาย ประกาศนี้ หรือได้รู้แล้ว แต่หลงลืมไป ยังเรียกว่าทุ่งพระเมรุอยู่ตามเคย เรียกมา แต่ก่อน ถ้ากรมพระตำรวจ หรือกรมพระนครบาล ผู้หนึ่งผู้ใด จับกุมผู้ที่เรียกพลั้ง เรียกผิดนั้น มาปรับไหมเอาเงินทอง ก็ให้ผู้ต้องจับนั้น มาร้องฟ้องตามกระทรวง ถ้าชำระได้ความจริง โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ไหมผู้จับทวีคูณ ให้แก่ผู้ต้องจับนั้น"


งานพระเมรุ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว งานพระเมรุ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

ในรัชกาลนี้ ปรากฏว่า พลับพลาทอดพระเนตรการทำนา ที่ท้องสนาหลวง มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีหอพระสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปในพระราชพิธี พืชมงคล มีหอสำหรับดักลม มีโรงละครสำหรับเล่นบวงสรวง และบนกำแพงแก้ว มีพลับพลาโถงสำหรับทอดพระเนตรในการทำนา ส่วนนอกกำแพงแกล้ว มียุ้งมีฉาง ไว้สำหรับใส่ข้าวหลวง ที่ได้จากการปลูกข้าวเรียงเป็นลำดับ

ความจริง ท้องสนามหลวงสมัยโน้น ก่อนรัชกาลที่ 5 ไม่กว้างขวางใหญ่โต เหมือนอย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน คือทางด้านเหนือมีเพียงแค่ถนนพระจันทร์ (ถนนผ่ากางท้องสนามหลวงในเวลานี้) ส่วนเหนือขึ้นไปเป็นพระราชวังบวร ครั้นถึงรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯ ให้รื้อกำแพง ป้อมปราการของวังหน้าทางด้านทิศตะวันออก ที่ไม่สำคัญลง คงไว้แต่ที่สำคัญ ๆ ท้องสนามหลวง จึงได้มีเนื้อที่เพิ่มขึ้นมาอีกถึงเท่าตัว และโปรดฯ ให้ปลูกต้นมะขามไว้รอบท้องสนามหลวง เพื่อให้เกิดความร่มเย็น เหมือนอย่างถนน ในต่างประเทศ ซึ่งพระองค์ได้เสด็จประพาสทอดพระเนตรมา

นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังโปรดฯ ให้รื้อพลับพลา สำหรับทำพิธีพืชมงคล และพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ในท้องสนามหลวงด้วย ทั้งนี้ เพราะหมดความจำเป็น ที่จะทำนาเหมือนอย่างในรัชกาลก่อน ๆ เสียแล้ว

เมื่อคราวฉลองพระนครครบรอง 100 ปี ใน พ.ศ. 2425 (จุลศักราช 1244) ในรัชกาลที่ 5 ก็ได้ท้องสนามหลวง เป็นที่ตั้งกระบวนแห่พยุหยาตรา อย่างใหญ่ มีทั้งกระบวนช้าง กระบวนม้า และกระบวนเท้า ส่วนรอบท้องสนามหลวง ก็ปลูกโรงไทยทาน สำหรับเลี้ยงพระเลี้ยงไพร่ตลอดงาน นอกจากนั้น ยังจัดให้มี "นาเชนนัล เอกซฮิบิเซน" คือ การแสดงสินค้าที่ผลิตได้ในเมืองไทย ให้ราษฎรได้ชมเป็นเวลาถึง 3 เดือนอีกด้วย

หลังจากที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจาอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน กลับจากประพาสยุโรป ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2440 (ร.ศ. 116) ก็ได้มีพวกข้าราชการ ฯลฯ มาเฝ้าถวายความจงรักภักดีเป็นการรับเสด็จ ณ บริเวณท้องสนามหลวง เป็นหลายครั้ง คือพวกนักเรียนในกรุงเทพฯ เฝ้าเมื่อวันที่ 11 มกราคม ข้าราชการจีน และพ่อค้าจีนเฝ้า เมื่อวันที่ 19 มกราคม ข้าราชการในพระองค์เฝ้า เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พวกสตรีสโมสรเฝ้า เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ และสมาชิก เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า จำพวกนอกพระบรมมหาราชวังเฝ้า เมื่อวันที่ 28 กุมภาพนธ์ เป็นต้น

อนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122) ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระชนมพรรษา 50 พรรษา พระองค์ก็ได้ทรงจัดให้มี พระราชกุศลนักขัตฤกษ์ เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษา ณ บริเวณท้องสนามหลวง ด้วยส่วนหนึ่ง โดยพระองค์และมกุฏราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินประทับ ณ พลับพลา ให้ประชาชนทั้งผู้ใหญ่และเด็ด เข้าเฝ้าถวายพระพร เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน


งานพระเมรุ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ อีกด้านหนึ่ง ของงานพระเมรุ สมเด็จพระศรีพัชรินทร์ทรา บรมราชินีนาถ

งานใหญ่ ๆ ที่สนุกสนานมากซึ่งจัดที่ท้องสนามหลวง ในรัชกาลที่ 5 ยังมีอีก 2 งาน คือ การดัดแปลงท้องสนามหลวง ให้เป็นบ้านเมือง และเป็นป่า เพื่อเล่นโขนกลางแปลง รับเสด็จพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน กลับจากประพาสยุโรปครั้งแรก เมื่อ ร.ศ. 116 กับงานสงคราม บุปผาชาติแต่งแฟนซี และตกแต่งรถจักรยานสองล้อด้วยดอกไม้นานาพันธุ์ แล้วขี่ข้างปากัน ด้วยกระดาษลูกปา และกระดาษสายรุ้ง ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดรับเสด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ที่ทรงศึกษาวิชาการทหารอยู่ ณ ประเทศรัสเซีย เสด็จกลับประเทศไทยชั่วคราว เมื่อ พ.ศ. 2442

อนึ่ง สนามหลวง ได้เป็นสนามเล่นว่าวมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 4 แล้วด้วย ดังจะเห็นได้จากในประกาศให้คนเล่นว่าวระวังสายป่าน ซึ่งประกาศ เมื่อวันจันทร์ เดือน 5 ขึ้น 2 ค่ำ ปีเถาะ สัปตศก จุลศักราช 1217 ใจความว่า

"พระยาเพ็ชปาณี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ สั่งว่า ให้นายอำเภอป่าวร้องประกาศข้าราชการ และราษฎร ที่เป็นนักเลงเล่นว่าว เอาว่าวขึ้น ก็ให้เล่นแต่ตามท้องสนามหลวง แถบที่ว่างเปล่า ไม่ห้ามปรามดอก ให้เล่นเถิด แต่อย่าให้สายป่านว่าวไปถูกเกี่ยวข้องพระมหาปราสาท พระที่นั่งสุทไธสวรรค์ ช่อฟ้าใบระกา พระมหามรเทียร พระที่นั่ง ในพระบรมมหาราชวัง พระบวรมหาราชวัง แลช่อฟ้าใบระกา วัดวาอาราม ให้หักพังได้ ถ้าผู้ใดชักว่าวไม่ระวัง ให้สายป่านพาดไปถูกต้องของหลวง แลวัดวาอาราม ให้หักพังยับเยินสืบไป จะเอาตัวเจ้าของว่าวเป็นโทษตามรับสั่ง"



อ่านต่อด้านบนขวา

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โทษของยาเสพติด

ความหมายของยาเสพติด ยาเสพติดให้โทษ หรือสิ่งเสพติดหมายถึง ยาหรือสารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีใดก้ตาม ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ ดังนี้
1. ต้องการยาเสพติดตลอดเวลา แสดงออกทางร่างกายและจิตใจ
2. ต้องเพิ่มขนาดของยาเสพติดมากขึ้น
3. มีอาการหยากหรือหิวยาเมื่อขาดยา (บางท่านจะมีอาการถอนยาเมื่อขาดยา)
4. สุขภาพทั่วไปทรุดโทรม
ถ้าพบเห็นบุคคลที่มีพฤติกรรม 4 ประการ ให้พึงสังเกตว่าอาจจะเป็นคนที่ใช้ยาเสติด

ประเภทของยาเสพติด
ปัจจุบันสิ่งเสพติดหรือยาเสพติดให้โทษมีหลายประเภท อาจจำแนกได้หลายเกณฑ์ นอกจากแบ่งตามแหล่งที่มาแล้ว ยังแบ่งตามการออกฤทธิ์และแบ่งตามกำกฎหมายดังนี้
ก.จำแนกตามสิ่งเสพติดที่มา
1. ประเภทที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา
2. ประเภทที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาม้า แอมเฟตามีน สารระเหย
ข.จำแนกสิ่งเสพติดตามกฎหมาย
1. ประเภทถูกกฎหมาย เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ บุหรี่ เหล้า กาแฟ ฯลฯ
2. ประเภทผิดกฎหมาย เช่น มอร์ฟีน ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา กระท่อม แอมเฟตามีน ฯลฯ
ค.การจำแนกสิ่งเสพติดตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
1.ประเภทกดประสาท เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท ยาระงับประทสาท ยานอนหลับ สารระเหย เครื่องดื่มมึนเมา เช่นเหล้า เบียร์ ฯ
2. ประเภทกระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน ยาม้า ใบกระท่อม บุหรี่ กาแฟ โคคาอีน
3. ประเภทหลอนประสาท เช่น แอล เอส ดี,เอส ที พี,น้ำมันระเหย
4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน อาจกด กระตุ้น หรือหลอนประสาทผสมรวมกันได้แก่ กัญชา

สาเหตุที่ทำให้เกิดยาเสพติด
1. ติดเพราะฤทธิ์ของยา เมื่อร่างกายมนุษย์ได้รับยาเสพติดเข้าไปฤทธิ์ของยาเสพติดจะทำให้ระบบต่างๆของร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งถ้าการใช้ยาไม่บ่อยหรือนานครั้ง ไม่ค่ยมีผลต่อร่างกาย แต่ถ้าใช้ติดต่อเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งจะทำให้มีผลต่อร่างกายและจิตใจ มีลักษณะ 4 ประการ คือ
1.1 มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพยาหรือสารนั้นอีกต่อไปเรื่อๆ
1.2 มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่มปริมาณของยาเสพติดขึ้นทุดขณะ
1.3 ถ้าถึงเวลาที่เกิดความต้องการแล้วไม่ได้เสพ จะเกิดอาการอยากยา หรืออาการขาดยา เช่น หาว อาจียน น้ำตาน้ำมูกไหล ทุรนทุราย คลุ้มคลั้ง โมโห ขาสติ
1.4 ยาที่เสพนั้นจะไปทำลายสุขภาพของผู้เสพทั้งร่างกาย ทำให้ซูบผอม มีโรคแทรกซ้อน และทางจิตใจ เกิดอาการทางประสาท จิตใจไม่ปกติ
2. ติดยาเสพติดเพราะสิ่งแวดล้อม
2.1 สภาพแวดล้อมภายนอกของบ้านที่อยู่อาศัย เต้มไปด้วยแหล่งค้ายาเสพติด เช่น ใกล้บรเวณศูนย์การค้า หน้าโรงหนัง ซึ่งเป็นการซื้อยาเสพติดทุกรูปแบบ
2.2 สิ่งแวดล้อมภายในบ้านขาดความอบอุ่น รวมไปถึงปัญหาชีวิตคนในครอบครัวและฐานะทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมจะทำให้เด้กหันไปพึ่งยาเสพติด การขาดความเอาใจใส่ดูแลจากพ่อแม่ และขาดการยอมรับจากครอบครัว เด็กจะหันไปคบเพื่อนร่อมกลุ่มเพื่อต้องการความอบอุ่น สภาพของกลุ่มเพื่อน สภาพของเพื่อนบ้านใกล้เคียง
2.3 สิ่งแวดล้อมทางโรงเรียน เด็กมีปัญหาทางการเรียน เนื่องจากเรียนไม่ทันเพื่อน เบื่อครู เบื่อโรงเรียน ทำให้หนีโรงเรียนไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ตนพอใจ เป็นเหตุให้ตกเป็นเหยื่อของการติดยาเซบติด
3. ติดเพราะความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ
ในสังคมที่วุ่นวายสับสน เปลี่ยนแปลงรวดเร้วดังเช่นปัจจุบัน ทำให้จิตใจผิดปกติง่าย หากเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพอ่อนแอในทุกด้าน ทั้งอารมณ์และสติปัญญา รวมทั้งร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรงก็จะหาสิ่งยึดเหนี่ยว จะตกเป้นทาสยาเสพติดได้ง่าย ผู้ที่มีอารมณ์วู่วามไม่ค่อยยั้งคิดจะหันเข้าหายาเสพติดเพื่อระงับอารมณ์วู่วามของตน เนื่องจากยาเสพติดมีคุณสมบัติในการกดประสาทและกระตุ้นประสาท ผู้มีจิตใจมั่นคง ขาดความมั่นใจ มีแนวโน้มในการใช้ยาเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลของตนให้หมดไปและมีโอกาสติดยาได้ง่ายกว่าผู้อื่น

วิธีสังเกตผู้ติดยาหรือสารเสพติด
1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย สุขภาพทรุดโทรม ผอมซีด ทำงานหนักไม่ไหว ริมฝีปากเขียวคล้ำและแห้ง ร่างกายสกปรกมีกลิ่นเหม็น ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ใส่แว่นดำเพื่อปกปิด
2. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ อารมณ์หงุดงิดง่าย พูดจาร้าวขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด สุบบุหรี่จัด มีอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด หน้าตาซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่น จิตใจอ่อนแอ ใช้เงินเปลือง สิ่งของภายในบ้านสูญหายบ่อย
3. แสดงอาการอยากยาเสพติด ตัวสั่น กระตุก ชัก จาม น้ำหมูกไหล ท้องเดิน ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดที่เรียกว่า "ลงแดง" มีไข้ปวดเมื่อยตามร่างกายอย่างรนแรงนอนไม่หลับ ทุรนทุราย
4. อาสัยเทคนิคทางการแพทย์ โดยการเก็บปัสสาวะบุคคลที่สงสัยว่าจะติดยาเสพติดส่งตรวจ ใช้ยาบางชนิดที่สามารถล้างฤทธิ์ของยาเสพติด

ประวัติฟุตบอลโลก

ฟุตบอลโลก หรือ ฟุตบอลโลกฟีฟ่า (อังกฤษ: FIFA World Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศโดยมีชุดทีมชาติชายร่วมเข้าแข่งในกลุ่มสมาชิกสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) การแข่งขันจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี เริ่มครั้งแรกในปี ค.ศ. 1930 ใน ฟุตบอลโลก 1930 ยกเว้นในปี ค.ศ. 1942 และ 1946 ที่งดเว้นไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทีมชนะเลิศการแข่งขันครั้งล่าสุดคือทีมชาติสเปน ที่ชนะในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2010 และจะเข้ารักษาแชมป์ เข้าสู่รอบสุดท้าย ในการแข่งขันครั้งต่อไป ที่จะจัดขึ้นในประเทศบราซิล

รูปแบบการแข่งขันในปัจจุบัน การแข่งขันประกอบด้วย 32 ทีม เพื่อเข้าร่วมแข่งขันในสถานที่จัดงานของประเทศเจ้าภาพ ซึ่งจะจัดขึ้นประมาณ 1 เดือน การแข่งขัน 32 ทีมสุดท้ายนี้เรียกว่า การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ส่วนในรอบคัดเลือกที่แข่งขันก่อนหน้านั้น จะในปัจจุบันต้องใช้เวลาร่วม 3 ปี เพื่อตัดสินว่าทีมใดที่จะร่วมเข้าแข่งกับทีมประเทศเจ้าภาพ

ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 19 ครั้ง มีชาติที่ชนะในการแข่งขัน 8 ชาติ ทีมชาติบราซิลชนะ 5 ครั้ง และเป็นทีมเดียวที่เข้าร่วมการแข่งขันในทุกครั้ง ส่วนทีมชาติอื่นที่ชนะการแข่งขันคือ ทีมชาติอิตาลี ชนะ 4 ครั้ง, ทีมชาติเยอรมนี ชนะ 3 ครั้ง, ทีมชาติอาร์เจนตินาและทีมชาติอุรุกวัย ชนะ 2 ครั้ง และ ทีมชาติอังกฤษ ทีมชาติฝรั่งเศส และทีมชาติสเปน ชนะ 1 ครั้ง

การแข่งขันฟุตบอลโลกถือเป็นการแข่งขันกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลก มีผู้ชมราว 715.1 ล้านคนในการแข่งขันนัดตัดสินการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 ที่จัดขึ้นที่ประเทศเยอรมนี[1]

ประสุนทนภู่

พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2398) เป็นกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียง ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย[1] เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นกวีราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต

สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความชำนาญทางด้านกลอน ได้สร้างขนบการประพันธ์กลอนนิทานและกลอนนิราศขึ้นใหม่จนกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ เพลงยาวถวายโอวาท กาพย์พระไชยสุริยา และ พระอภัยมณี เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน และเป็นผลงานที่แสดงถึงทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมากที่สุด งานประพันธ์หลายชิ้นของสุนทรภู่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนนับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กาพย์พระไชยสุริยา นิราศพระบาท และอีกหลายๆ ส่วนในเรื่อง พระอภัยมณี

ปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบ 200 ปีชาตกาล สุนทรภู่ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ไว้ที่ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง บ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นกำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์แห่งอื่นๆ อีก เช่น ที่วัดศรีสุดาราม ที่จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดนครปฐม วันเกิดของสุนทรภู่คือวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็น วันสุนทรภู่ ซึ่งเป็นวันสำคัญด้านวรรณกรรมของไทย มีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่างๆ โดยทั่วไป

เทคนิคการแร่เงา

ในการให้แสงและเงาการเรนเดอร์จะทำการคำนวณค่าสี และความสว่าง ณ ตำแหน่งต่าง ๆ บนแบบจำลอง โดยใช้หลักการคำนวณหาจุดตกกระทบของแสงจากแหล่งกำเนิด หลังจากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการสร้างให้เป็นจุดภาพหรือ แรสเตอไรเซชั่น (Rasterization)ซึ่งจะเป็นการฉาย (Project)แบบจำลองลงบนระนาบสองมิติ ก่อนส่งค่าไปแสดงบนจอภาพ กระบวนการนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายในสายท่อกราฟิก หรือ กราฟิกไปป์ไลน์ (Graphic Pipeline)โดยจะให้ผลลัพธ์เป็นการแสดงรูปหรือการเคลื่อนไหวที่สร้างขึ้น

ในทางคอมพิวเตอร์กราฟิกกระบวนการสร้างภาพจากแบบจำลองเริ่มเป็นประเด็นสำคัญในการศึกษาตั้งแต่ยุค 1970 เนื่องจากความซับซ้อนของเรขภาพคอมพิวเตอร์ โดยกระบวนการนี้มีความสำคัญในแง่ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์เกม การจำลอง เทคนิคพิเศษทางภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ และ การออกแบบการสร้างภาพมโนทัศน์ ส่วนซอฟต์แวร์สำเร็จรูปบ้างก็รวมเข้ากระบวนการนี้กับซอฟต์แวร์สำหรับสร้างแบบจำลอง และสร้างแอนิเมชัน บ้างก็แยกเป็นซอฟต์แวร์เฉพาะต่างหาก อีกทั้งยังสามารถหาได้ในรูปแบบของซอฟต์แวร์ไม่จำกัดลิขสิทธิ์ ซึ่งขั้นตอนของการสร้างตัวเรนเดอร์ หรือ ตัวสร้างภาพจากแบบจำลองนั้นอาศัยการรวมศาสตร์ต่าง ๆ หลายแขนงเช่น ฟิสิกส์ของแสง การรับรู้ด้านการมองเห็น คณิตศาสตร์ และ วิศวกรรมซอฟต์แวร์

กรณีของกราฟิกส์สามมิติ การสร้างภาพจากแบบจำลองนั้นเป็นกระบวนการที่ทำได้ช้า และกินเวลาในการคำนวณมาก (เช่นขั้นตอนการสร้างภาพยนตร์) ซึ่งสามารถใช้กราฟิกฮาร์ดแวร์เร่งความเร็วการประมวลผลสามมิติแบบทันกาลเข้าช่วยได้ (เช่นการเพิ่มความเร็วของเกม) ซึ่งคำภาษาอังกฤษว่า"เรนเดอร์"ได้มาจากศัพท์ที่หมายถึงขั้นตอนการลงแสงและเงาภาพของศิลปินหรือ หรือ อาร์ทิส เรนเดอริ่ง (Artist Rendering)แต่ในทางคอมพิวเตอร์กราฟิกขั้นตอนนี้กินความกว้างกว่าดังที่ได้อธิบายไว้

เทคนิคการเรียนเก่ง

เทคนิคการเรียนให้เก่ง [ 2008-12-01 14:59:39 ] เก็บเป็นรายการโปรด
กลุ่ม : เคล็ดลับต่างๆ




พูดถึงเรื่องเรียน ใครๆ ก็อยากเก่งกันทุกคน แต่คงมีหลายคน ที่อาจจะท้อแท้กับการเรียน นักวิชาการและนักวิจัยต่างๆ ได้ทำการสำรวจและวิจัย พบว่าเทคนิคการเรียนต่างๆ จากหลายๆคนแตกต่างกันไป ก็เลยนำมาเสนอให้เพื่อนๆ ที่สนใจได้อ่านด้วย เราไปดูกันดีกว่าว่า การเรียน เก่ง เขามีเทคนิคอะไร ยังไง

จากการวิจัยและวิเคราะห์ของนักแนะแนวการศึกษาและนักจิตวิทยาหลายคนพบว่า ผู้ที่เรียนไม่ค่อยประสบความสำเร็จหรือเรียนแบบไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ได้แก่ผู้ที่มีลักษณะดังนี้


เป็นคนที่มักละทิ้งงานไว้ก่อนก่อนจึงค่อยทำ เมื่อถึงนาทีสุดท้าย

เสียสมาธิ หันเห ความสนใจไปจากการเรียนได้โดยง่าย

เมื่อทำงานที่ยากๆ จะสูญเสียความสนใจ หรือขาดความมานะ พยายามนั่นเอง

มักใช้เรื่องของการสอบ เป็นเครื่องกระตุ้นการเรียน

ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีตารางการทำงานอย่าวงสม่ำเสมอ



ควรมีตารางเรียนและทำงานตรงตามเวลาที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ

ทำงานในระยะเวลาที่ไม่นานนักและควรมีการหยุดพักผ่อน

ไม่ปล่อยงานค้างไว้จนวินาทีสุดท้าย

ควรตั้งสมาธิให้แน่วแน่ ไม่เสียสมาธิง่าย

อย่าใช้การสอบเป็นแรงจูงใจในการอ่านหนังสือ

ควรอ่านหนังสือก่อนเข้าห้องเรียนตามสมควร
เข้าฟังการบรรยาย สัมมนาแล้วควรกลับไปอ่านทบทวน

พยายามอย่าละเลยวิชาที่ยากกว่าวิชาอื่นๆ

ควรมีความรู้ในการใช้บริการห้องสมุดด้วยเป็นดี

ปรับปรุงคำบรรยาย ที่จดจากห้องเรียนให้กระชับ กะทัดรัดและเข้าใจง่าย

พยายามทำให้การเรียนเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และสนุกสนานกับมัน

ควรมีแรงกระตุ้นกับมันและไม่ควรทำงานหนักเกินไปในวันหยุด

เมื่อพยายามปฏิบัติทุกข้ออย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้เรียนได้ดี



อ่านหนังสือเที่ยวนึงก่อน แล้วกลับมาอ่านซ้ำอีกที

ขีดเส้นใต้ใจความหลักและรายละเอียดที่สำคัญในตำรา

อ่านอย่างตั้งใจแล้วทำบันทึกเค้าโครงสั้นๆไว้ เพื่อประหยัดเวลาในการอ่านทบทวน
ซึ่งนักวิเคราะห์สรุปว่า วิธีที่3ค่อนข้างจะดีกว่าข้ออื่นๆแต่การทำพร้อมๆกันทั้ง 3 วิธี เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการอ่านหนังสือเลยทีเดียว

Thorndike กล่าวว่า ประสบการณ์ก่อให้เกิดความชำนาญ เขาได้ตั้งกฎแห่งการเรียนไว้ 3 อย่างซึ่งพูดถึงการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น การตอบรับ การฝึกหัดเพื่อก่อให้ เกิดประสบการณ์ และการเตรียมความพร้อมในด้านการเรียน และเขายังมี ข้อแนะนำที่จะช่วยให้การเรียนได้ผลดีและรวดเร็ว คือ


พยายามสร้างความอยากที่จะเรียน (motivation)

พยายามตอบสนองต่อการเรียน (reaction) อย่างต่อเนื่อง

ควรมีความแน่วแน่กับการเรียน (concentrate)

จัดลำดับเรื่องที่จะเรียน (organization) ให้เป็นหมวดหมู่ก่อนหลัง ไม่ปะปนกัน

ควรมีความเข้าใจ (comprehension) ในจุดมุ่งหมายในเนื้อหาที่เรียน

มีการทบทวน (repettition) เพื่อเป็นการไม่ให้ลืม



สำรวจเนื้อหาและส่วนประกอบต่างๆ ในเล่มทั้งหมด

อ่านเนื้อหาทั้งหมด แล้วอ่านซ้ำเพื่อจับ

ควรมีการตั้งคำถามกับตัวเองขณะอ่าน ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร

ขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญจากนั้นบันทึกเป็นคำพูดที่เข้าใจง่าย

พยายามจับประเด็นจากคำบรรยายและจากตำราให้เข้ากัน

ต้องมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ

วันวาเลนไทน์

วันวาเลนไทน์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ในกรุงโรมสมัยก่อนนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโน่ซึ่งเป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดาแห่ง อิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของ Lupercalia การดำเนินชีวิตของเด็กหนุ่มและเด็กสาวในสมัยนั้นจะถูกแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเพณี อย่างนึง ซึ่งเด็กหนุ่มสาวยังสืบทอดต่อกันมา คือ คืนก่อนวันเฉลิมฉลอง Lupercalia นั้นชื่อของเด็กสาวทุกคนจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษเล็ก ๆ และจะใส่เอาไว้ในเหยือก เด็กหนุ่มแต่ละคนจะดึงชื่อของเด็กสาวออกจากเหยือก แล้วหลังจากนั้นก็จะจับคู่กันในงานเฉลิมฉลอง บางครั้งการจับคู่นี้ ท้ายที่สุดก็จะจบลงด้วยการที่เด็กหนุ่มและเด็กสาวทั้งสองนั้นได้ตกหลุมรักกันและแต่งงานกันในที่สุด

ในรัชสมัยของ จักรพรรดิคลอดิอัส ที่ 2 (Emperor Claudius II) แห่ง กรุงโรม พระองค์ ทรงเป็นกษัตริย์ที่มี ใจคอดุร้ายและทรงนิยม การ ทำสงครามนองเลือด ได้ทรงตระหนักว่าเหตุที่ ชายหนุ่มส่วนมากไม่ประสงค์จะเข้าร่วม ในกองทัพเนื่องจากไม่อยากจากคู่รัก และครอบครัวไป จึงทรงมีพระราชโอง การสั่งห้ามมิให้มีการจัดพิธีหมั้นและ แต่งงานกันในโรมโดยเด็ดขาด ทำให้ ประชาชนทุกข์ใจเป็นอย่างยิ่ง และขณะนั้น มีนักบุญรูปหนึ่งนามว่า เซนต์วาเลนไทน์ หรือวาเลนตินัส ซึ่งอาศัยอยู่ในโรมได้ ร่วมมือกับเซนต์มาริอัสจัดพิธีแต่งงานให้กับ ชาวคริสต์หลายคู่ และด้วยความปรารถนา ดีนี้เองจึงทำให้วาเลนไทน์ถูกจับและระ หว่างนี้ก็ยังคงส่งคำอวยพรวาเลนไทน์ ของเขาเองขณะที่เขาเป็นนักโทษ เป็น ความเชื่อว่าวาเลนไทน์ได้ตกหลุมรักหญิง สาวที่เป็นลูกสาวของผู้คุมที่ชื่อจูเลีย ซึ่งได้มาเยี่ยมเขาระหว่างที่ถูกคุมขัง ในคืนก่อนที่วาเลนไทน์จะสิ้นชีวิตโดยการถูกตัดศีรษะ เขาได้ส่งจดหมายฉบับ สุดท้ายถึงจูเลีย โดยลงท้ายว่า “From Your Valentine”

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หลังจากนั้นศพของเขาได้ถูก เก็บไว้ที่โบสถ์ พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม จูเลียได้ปลูกต้นอามันต์ หรืออัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุม ศพของวาเลนตินัส แด่ผู้เป็น ที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สีชมพูได้เป็นตัวแทน แห่งรักนิรันดรและมิตรภาพ อันสวยงาม และคำนี้ก็เป็นคำที่ใช้มา จนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าเบื้อง หลังความเป็นจริงของวาเลนไทน์จะ เป็นตำนานที่มืดมัว แต่เรื่องราวยังคง แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกสงสาร ความ กล้าหาญและที่สำคัญที่สุดเป็นเครื่องหมายของความโรแมนติค จึงไม่น่าประหลาดใจ เลยว่าในช่วงยุคกลางวาเลนไทน์เป็นนักบุญ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในอังกฤษและฝรั่งเศส ต่อมาพระในนิกายโรมันคาทอลิกจึงเลือกให้ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันเฉลิมฉลอง เทศกาลแห่งความรักและดูเหมือนว่ายัง คงเป็นธรรมเนียมที่ชายหนุ่มจะเลือก หญิงสาวที่ตนเองพึงใจในวันวาเลนไทน์ สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต

แหลมพรหมเทพ เป็นจุดชมวิวที่สวยงามของภูเก็ต อยู่ห่างจากหาดราไวย์ ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นแหลมที่อยู่ตอนใต้สุดของเกาะภูเก็ต ชาวบ้านเรียกว่าแหลมเจ้า จากริมหน้าผามีแนวต้นตาลลาดลงสู่ปลายแหลมที่เป็นโขดหิน สามารถเดินไปจนถึงปลายแหลมได้ มองเห็นน้ำทะเลสีเขียวมรกต และสามารถเห็นเกาะแก้วอยู่ด้านหน้าแหลม ทางขวาจะเห็นแนวหาดทรายของหาดในหาน แหลมพรหมเทพนับเป็นสถานที่ชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามมากแห่งหนึ่ง

นอกจากนั้นยังมี “ประภาคารกาญจนาภิเษก แหลมพรหมเทพ” สร้างขึ้นในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี มีขนาดความกว้างที่ฐาน 9 เมตร สูง 50 ฟุต และแสงไฟจากโคมไฟจะมองเห็นไกลถึง 39 กิโลเมตร ใช้เป็นเครื่องหมายในการเดินเรือเนื่องจากภูเก็ตถือเป็นศูนย์กลางเส้นทางคมนาคมในทะเลอันดามันที่สำคัญ ภายในประภาคารมีการแสดงนิทรรศการเกี่ยวการสร้างประภาคาร การรักษาเวลามาตรฐาน การคำนวณ และแสดงเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นและตก เรือหลวงจำลองพร้อมประวัติเรือแต่ละลำ จากบนยอดของประภาคารยังเป็นจุดชมทิวทัศน์บริเวณแหลมพรหมเทพโดยรอบ

คำขวัญจังหวัดเพชรบูรณ์

"เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพตราประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยเพชรกับภูเขาและไร่ยาสูบ อยู่ในรูปวงกลมมี ลายกนกไทยล้อม โดยรอบ เพชรเจียรนัยเป็นรูปหัวแหวน รูปคล้ายสามเหลี่ยมหัวกลับลงดินลอยอยู่บนท้องฟ้า เหนือภูเขา พื้นดินเป็น ไร่ยาสูบ และมีอักษรเขียนว่า “จังหวัดเพชรบูรณ์เมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือพื้นธงเป็น 3 ริ้ว มี 2 สี ริ้วสีขาวอยู่กลาง ใหญ่กว่าริ้วสีเขียวใบไม้ ซึ่งเป็นริ้วที่อยู่ริม 2 ข้าง ประมาณ 1/3 ตรงกลางผืนธงประกอบด้วย เครื่องหมายตราประจำจังหวัด เพชรสีขาว น้ำมันก๊าส มีรัศมีโดยรอบ ภูเขามีสีน้ำเงิน และสีอื่นเหลือบเหมือนของจริง เชิงภูเขาแลเห็นเป็นทิวไม้ขึ้นเป็นสีใบไม้แก่ ต้นยาสูบ สีเขียวใบไม้เหมือนของจริง ตัวอักษร “จังหวัดเพชรบูรณ์” สีแดงลายกนกไทย ล้อมรอบวงกลม เครื่องหมายตราประจำ จังหวัดสีทองตัดเส้นสีแดงผืนธงยาว 250 ซ.ม. กว้าง 150 ซ.ม. ตามเครื่องหมาย ประจำจังหวัดที่ประดิษฐ์อยู่ตรงกลาง ผืนธง มีความกว้างเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 66 ซ.ม. เทือกเขา เพชรบูรณ์นี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงขนานนามว่า ภูเขาบันทัดและเขาปันน้ำยาสูบ พื้นเมือง เพชรบูรณ์ พระองค์ก็ได้ทรงรับรองว่า มีคุณภาพเป็นยอดเยี่ยมกว่ายาสูบที่อื่น ทั้งหมดทั่วเมืองไทย ซึ่งได้ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือชื่อ "นิทานโบราณคดี" นิทานที่ 10 เรื่องความไข้เมืองเพชรบูรณ์ง"

การทำอาหาร

แกงเนื้อปากีสถาน
บ้านอยู่ฮ่องกงค่ะ จะเป็นตึกสูงสี่สิบชั้น มีแขกปากีฯอยู่หลายบ้านมากเวลาเค้าทำแกงจะหอมไปทั้งตึก เลยทำเนียนๆเข้าไปคุยและขอสูตรเค้ามาแบ่งปันกันนะคะ

เครื่องปรุง

เนื้อติดมัน 1 กิโลกรัม ใครไม่ทานเนื้อจะใช้ ไก่ หมู ปลาก็ได้
หอมหัวใหญ่ 1 หัว หั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า
มะเขือเทศ 2 ผล หั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า
กระเทียมขิงอย่างละประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ สับละเอียด
ผงขมิ้น 1 ชช ( cumin powder )
ผงลูกผักชี 1 ชช ( coriander seed powder )
ผงยี่หร่า 1 ชช ( turmeric powder )
ผงพริกป่นแขกหาไม่ได้ไม่ต้องใส่ก้ไม่มีใครว่าไร
น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ
เกลือ
วิธีทำ

เนื้อล้างสะอาด หั่นขนาด 1 นิ้ว
ผัดหอมหัวใหญ่กับน้ำมันให้เหลืองจัด
ใส่ผงขมิ้น ผงลูกผักชี ผงยี่หร่าผัดต่อประมาณ 15นาที
.ใส่ขิงสับ กระเทียมสับ
มะเขือเทศผัดต่อ 15 นาที
ใส่เนื้อ ปิดฝาใช้ไฟอ่อนๆ เคี่ยว 20-30นาที
ไม่ต้องใส่น้ำเพราะน้ำจากมะเขือเทศและเนื้อจะออกตอนเคี่ยว

อย่าลืมใส่เกลือปรุงรส ก่อนยกลง
ลักษณะแกงจะมีน้ำขลุกขลิก ตอนคุณSHAHEEN (คนสอน)เธอทำจะใส่น้ำมันมากกว่านี้ เธอไม่กลัวอ้วน (เพราะอ้วนอยู่แล้ว)
หน้าตาของแกงจะเหมือนกับแกงมัสมั่นบ้านเรา แต่หอมผิดกัน
รับประทานกับโรตี หรือข้าวสวยร้อนๆอร่อยนักแล