วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การใช้โปรแกรม Miciosoft Excel

โปรแกรม Microsoft Excel เป็นโปรแกรมที่เหมาะกับงานทางด้าน การคำนวณ การตีตาราง การหาค่าสูตรต่าง ๆ ตลอดจนสามารถนำข้อมูล ไปสร้างเป็นกราฟ เพื่อแสดงแผนภูมิต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งถ้าเรามีการเปลี่ยนแปลงตัวเลขใด ๆ โปรแกรมก็จะทำการคำนวณ สูตรที่เชื่อมโยงกับตัวเลขนั้น ๆ ให้โดยอัตโนมัติ


การเข้าสู่โปรแกรม Microsoft Excel

1. คลิ๊กที่ปุ่ม Start

2. เลื่อนขึ้นไปที่หัวข้อ Program

3. เลื่อนมาด้านขวา คลิ๊กที่โปรแกรม Microsoft Excel


ส่วนประกอบต่าง ๆ ของหน้าจอโปรแกรม Microsoft Excel

1. เมื่อเปิดโปรแกรมมาแล้ว จะเห็นว่าหน้าจอจะตีตารางเป็นช่อง ๆ เราเรียกว่า กระดาษทำการ Work Sheet

2. ด้านบนที่เห็นเป็นตัวอักษร A , B , C , D , E , …….. เป็นการแบ่งแนวตั้งเราเรียกว่า คอลัมน์ Column

3. ด้านซ้ายที่เห็นเป็นตัวเลข 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , ………… เป็นการแบ่งแนวนอนเราเรียกว่า แถว Row

4. จุดตัดระหว่าง คอลัมน์ กับ แถว เราเรียกว่า เซลล์ Cell

5. ที่ Cell A1 จะมีกรอบสีดำเข้ม สามารถเลื่อนไปยัง Cell ต่าง ๆ ได้ เราเรียกว่า ตัวชี้ตำแหน่งเซลล์ ปัจจุบันที่ใช้งานอยู่ Cell Pointer

การเลื่อน Cell Pointer

1. ใช้เม้าส์คลิ๊กที่ เซลล์ ที่เราต้องการเลื่อน

2. ใช้ลูกศร สี่ทิศ ที่แป้นพิมพ์ในการเลื่อน

3. ใช้ปุ่ม Ctrl + Home เพื่อเลื่อนกลับมาที่ เซลล์ A1

4. ใช้ปุ่ม Ctrl + ลูกศร ขวา เพื่อเลื่อนมา คอลัมน์ ขวาสุด

5. ใช้ปุ่ม Ctrl + ลูกศร ลง เพื่อเลื่อนลงมาบรรทัดสุดท้าย

6. ใช้ปุ่ม Page Up หรือ Page Down เพื่อ เลื่อน ขึ้น หรือ ลง ทีละ 1 หน้าจอภาพ


การพิมพ์ข้อมูลลงใน Cell

1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ ที่ต้องการจะป้อนข้อมูล

2. พิมพ์ข้อมูลที่ต้องการ

3. กดปุ่ม Enter หรือ ใช้ลูกศร ที่แป้นพิมพ์เพื่อ เลื่อนไปทางขวา หรือ ขึ้น ลง ได้


การลบข้อมูลในเซลล์

1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ ที่ต้องการจะลบ

2. กดปุ่ม Delete ที่แป้นพิมพ์


การแก้ไขข้อมูล

1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ ที่ต้องการจะแก้ไขข้อมูล

2. กดปุ่ม F2 ที่แป้นพิมพ์

3. ทำการแก้ไขข้อมูล (สามารถใช้ลูกศร ซ้าย – ขวา ที่แป้นพิมพ์ในการเลื่อนเคอร์เซอร์ได้)

4. เสร็จการแก้ไขข้อมูล โดยการกดปุ่ม Enter


การย้ายข้อมูล (Move)

1. เลื่อนเซลล์ไปยังเซลล์ที่จะย้ายข้อมูล

2. นำเม้าส์มาแตะที่ขอบของ Cell Pointer เม้าส์จะเปลี่ยนจากรูป บวก ที่เป็นกาชาด มาเป็นลูกศร

3. กดปุ่มซ้ายของเม้าส์ ค้างไว้ เลื่อน เซลล์ได้เลย


การคัดลอกข้อมูล (Copy)

1. เลื่อนเซลล์ไปยังเซลล์ที่จะคัดลอกข้อมูล

2. นำเม้าส์มาแตะที่จุดสี่เหลี่ยมสีดำตรงมุมขวาล่างของ Cell Pointer เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมายบวก

สีดำ

3. กดปุ่มซ้ายของเม้าส์ค้างไว้ แล้วเลื่อนไปยังเซลล์ที่จะคัดลอกไปได้เลย

การปรับความกว้างของคอลัมน์

1. เลื่อนเม้าส์ไปชี้ที่เส้นแบ่งระหว่างคอลัมน์ (เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูปลูกศรสีดำ ซ้าย – ขวา)

2. กดเม้าส์ค้างไว้ แล้วลากเม้าส์เพื่อปรับความกว้าง หรือจะดับเบิ้ลคลิ๊ก เพื่อให้เครื่อง

ปรับความกว้างอัตโนมัติ


การเขียนสูตรเพื่อทำการคำนวณในเอ็กเซล

1. คลิ๊กที่เซลล์ที่ต้องการจะคำนวณ

2. กดเครื่องหมาย เท่ากับ = เพื่อให้เอ็กเซลทราบว่า ช่องนี้ต้องการทำการคำนวณ

3. พิมพ์สูตรที่ต้องการคำนวณลงไป เช่น พิมพ์ว่า =D3*3% (D3 คือ เซลล์ที่เก็บตัวเลขที่เราจะดึงมาทำการคำนวณ)

4. เมื่อพิมพ์สูตรเสร็จแล้ว ให้กดปุ่ม Enter เครื่องจะทำการคำนวณคำตอบให้


การคัดลอกสูตร (Copy สูตร)

1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ที่จะคัดลอกสูตร

2. เลื่อนเม้าส์มาชี้ที่จุดสี่เหลี่ยมสีดำ ด้านล่างขวาของกรอบสีดำ เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมาย บวก สีดำ

3. กดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ ค้างไว้ แล้วเลื่อนเม้าส์ลงมาเรื่อยจนครบทุกช่องที่จะก๊อปปี้


4. เมื่อปล่อยเม้าส์ เครื่องก็จะทำการคำนวณทุกช่องให้เอง


ถ้าทำการก๊อปปี้แล้วตัวเลขเกิดรางรถไฟขึ้นมา ############## ความหมายคือความกว้างไม่พอ

1. เลื่อนเม้าส์ไปที่เส้นแบ่งระหว่างคอลัมน์ ที่เราจะปรับด้านบน (เม้าส์จะเปลี่ยนเป็นรูป ลูกศรสีดำ

ซ้าย – ขวา)

2. ดับเบิ้ลคลิ๊ก เพื่อปรับความกว้างอัตโนมัติ


การคำนวณหายอดรวม

1. เลื่อนเซลล์ ไปยังเซลล์ที่ต้องการจะหายอดรวม

2. ด้านบน คลิ๊กที่ปุ่ม ซิกม่า (เป็นรูปตัว S )

3. จากนั้นที่เซลล์ จะมีคำสั่งให้ว่า =SUM(ตามด้วยกลุ่มเซลล์)

4. กดปุ่ม Enter เครื่องจะคำนวณหาคำตอบให้


การผสานเซลล์ให้เป็นช่องเดียวกัน จะใช้ในกรณีที่ต้องการให้ข้อความจัดกลางระหว่างคอลัมน์ หลาย ๆ คอลัมน์ เช่น ต้องการให้ชื่อบริษัท ในบรรทัดแรกอยู่ตรงกลางระหว่าง คอลัมน์ A ถึงคอลัมน์ F

วิธีการคือ

1. นำเม้าส์ไปวางที่เซลล์ A1 จากนั้นกดเม้าส์ค้างไว้ ลากมาทางขวาจนถึงคอลัมน์ F1

2. ด้านบน คลิ๊กที่ปุ่ม a เล็ก (ถ้าเลื่อนเม้าส์ไปวางไว้ จะมีคำว่า ผสานและจัดกึ่งกลาง)

3. เครื่องจะทำการผสานเซลล์ แล้วนำข้อความมาจัดกลางให้


การให้เครื่องใส่หมายเลขลำดับที่ต่อเนื่องกันไป เช่น ต้องการให้ลำดับที่เป็น 1 , 2 , 3 , 4 , ไปเรื่อย ๆ


1. คลิ๊กที่เซลล์ที่ต้องการจะเริ่มเลข 1

2. ใส่เครื่องหมายฟันเดียว ‘ ตรงแป้นพิมพ์อักษร ง ไม่ต้องยกแคร่ พิมพ์เลข 1 แล้วกด Enter

3. เลข 1 จะชิดด้านซ้าย เลื่อนเซลล์กลับมาที่เลข 1 ทำการก๊อปปี้ (เลื่อนเม้าส์ ชี้ ตรงจุดสี่เหลี่ยมสีดำตรงมุมล่างขวา เม้าส์จะเปลี่ยนรูปเป็นเครื่องหมาย บวก สีดำ กดเม้าส์ค้างไว้ แล้วลากเม้าส์ลงมาตามต้องการ พอปล่อยเม้าส์ เครื่องจะใส่ตัวเลขเรียงลำดับให้เอง)


การตีตาราง

1. ลากเม้าส์คลุมเซลล์ที่เราต้องการจะตีตาราง

2. ด้านบนที่แถบเครื่องมือบรรทัดที่สอง (แถบจัดรูปแบบ) นับจากด้านหลังปุ่มที่ 3 จะเป็นปุ่มเส้นขอบ ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมเล็ก ๆ หลังปุ่มเส้นขอบ

3. เครื่องจะมีเส้นขอบให้เลือก ให้เลือกปุ่มที่อยู่ในบรรทัดที่ 3 ปุ่มที่ 2 เครื่องจะมีคำว่า เส้นขอบทั้งหมด

4. เครื่องจะตีตารางให้ คลิ๊กเม้าส์ที่เซลล์ไหนก็ได้ เพื่อยกเลิกแถบที่เราลากไว้


การ Save ข้อมูล จะแบ่งเป็น 2 กรณี


ถ้าเป็นการ Save ครั้งแรก หมายถึง เพิ่งพิมพ์งานใหม่

1. คลิ๊ก เมนู แฟ้ม

2. ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง บันทึกเป็น (Save As)

3. จะขึ้นหน้าต่าง Save As จากนั้นในช่องชื่อแฟ้ม เครื่องจะนำเอาบรรทัดแรกที่เราพิมพ์ มาเป็นชื่อแฟ้ม แต่ถ้าเราไม่เอาชื่อแฟ้มนั้นก็ ลบทิ้ง พิมพ์ชื่อแฟ้มที่ต้องการลงไปแล้ว คลิ๊กปุ่ม บันทึก


ถ้าเป็นการ Save งานเดิม หมายถึง เรียกขึ้นมาเพื่อแก้ไข แล้วจะ Save ที่เราแก้ไข

1. คลิ๊ก เมนู แฟ้ม

2. ลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง บันทึก (Save)

3. ตรงนี้เครื่องจะไม่ขึ้นหน้าต่าง ใด ๆ เลย เครื่องจะทำการ Save ลงที่แฟ้มเดิมที่เราเรียกใช้อยู่ เพราะเครื่องทราบว่าจะ Save ที่แฟ้มใดอยู่แล้ว


การยกเลิกเส้นตารางบางส่วนที่เราตีไปแล้ว

1. นำเม้าส์มา ลาก ส่วนที่เราจะยกเลิกเส้นตาราง

2. นำเม้าส์มาวางอยู่ในแถบที่เราลาก

3. คลิ๊กปุ่มขวาของเม้าส์เพื่อเข้าวิธีลัด

4. เครื่องจะปรากฏคำสั่งต่าง ๆ ให้เราลงมาคลิ๊กที่คำสั่ง จัดรูปแบบเซลล์

5. เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบเซลล์ ด้านบน ให้คลิ๊กที่หัวข้อ เส้นขอบ

6. ในช่อง เส้น , ลักษณะ ด้านขวา ให้คลิ๊กที่คำว่า ไม่มี

7. ด้านซ้ายในช่อง เส้นขอบ ให้คลิ๊กเส้นที่เราต้องการจะเอาออก

8. ด้านล่างคลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง


การเปลี่ยนตัวอักษร ขนาด ลักษณะตัวอักษร สี

1. นำเม้าส์มาลากยังเซลล์ที่ต้องการจะเปลี่ยน

2. ด้านบนที่แถบเครื่องมือบรรทัดที่ 2 (แถบจัดรูปแบบ)

3. ช่องที่ 1 ที่มีคำว่า Cordia New ช่องนี้คือแบบอักษร ถ้าเราจะเปลี่ยนแบบอักษร ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังคำว่า Cordia New จากนั้นเลือกตัวอักษรที่เราต้องการ โดยต้องเลือกตัวอักษรที่มีคำว่า New หรือ UPC อยู่หลังแบบอักษร เพราะแบบอักษรนี้จะใช้ได้กับภาษาไทย

4. ช่องที่ 2 ที่มีตัวเลขเป็น 14 ช่องนี้คือ ขนาดของตัวอักษร ถ้าเราจะเปลี่ยนก็ให้คลิ๊กที่ปุ่ม สามเหลี่ยมสีดำ หลังเลข 14 แล้วเลือกขนาดได้ตามใจชอบ

5. ช่องที่ 3 จะเป็นตัวอักษร B ถ้าเราคลิ๊กลงไปจะได้ตัวอักษร หนาขึ้น ถ้าไม่เอา ให้คลิ๊กซ้ำลงไป


6. ช่องที่ 4 จะเป็นตัวอักษร I จะเป็นการทำตัวเอียง

7. ช่องที่ 5 จะเป็นตัวอักษร U จะเป็นการทำตัวขีดเส้นใต้

8. ช่องสุดท้าย จะเป็นตัวอักษร A จะเป็นการเลือกสีตัวอักษร ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังตัว A จะมีสีต่าง ๆ ให้เลือก ถ้าเราไม่เอาสีนั้นแล้วให้คลิ๊กที่คำว่า อัตโนมัติ

9. ช่องที่อยู่หน้าปุ่ม A ที่เป็นรูปกระป๋องสี คือการใส่สีพื้น ให้คลิ๊กที่ปุ่มสามเหลี่ยมสีดำหลังกระป๋องสี จะมีสีพื้นต่าง ๆ ให้เลือก แต่ถ้าเราเลือกไปแล้วจะไม่เอาสีพื้น ให้คลิ๊กที่คำว่า ไม่เติม

10. เมื่อเปลี่ยนเรียบร้อยแล้ว ให้นำเม้าส์คลิ๊กที่เซลล์ไหนก็ได้เพื่อยกเลิกแถบ


การคำนวณหาค่าต่าง ๆ

1. คลิ๊กที่เซลล์ที่เราจะเก็บคำตอบ

2. ด้านบนคลิ๊กที่ปุ่ม วางฟังก์ชั่น (อยู่ข้าง ๆ ปุ่มซิกม่าที่เป็นรูป fx)

3. เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง วางฟังก์ชั่น

4. เลือกคำสั่งที่เราจะทำการคำนวณ

5. ด้านล่างคลิ๊กปุ่ม ตกลง

6. เครื่องจะขึ้นหน้าต่างเพื่อให้เราใส่กลุ่มเซลล์ที่เราต้องการจะทำการคำนวณ เช่น ถ้าเราต้องการหาค่าตั้งแต่ เซลล์ D3 ถึง เซลล์ D7 เราต้องพิมพ์ว่า D3:D7 ใช้เครื่องหมายคอลอนคั่น : จากนั้นด้านล่างคลิ๊กปุ่ม ตกลง เครื่องก็จะทำการคำนวณในเซลล์นั้นให้


คำสั่งที่ใช้ในการหาค่าต่าง ๆ

ต้องการหาค่าเฉลี่ย ใช้คำสั่ง AVERAGE

ต้องการหาค่าสูงสุด ใช้คำสั่ง MAX

ต้องการหาค่าต่ำสุด ใช้คำสั่ง MIN

ต้องการให้เครื่องตรวจสอบข้อมูล จริง กับ เท็จ ใช้คำสั่ง IF

ต้องการให้เครื่องเปลี่ยนเลขเป็นตัวอักษร ใช้คำสั่ง BAHTTEXT


การสร้างกราฟ (Graph) คือ การนำตัวเลข มาสร้างเป็นกราฟเพื่อสรุปเป็นแผนภูมิ

1. นำเม้าส์มาลากข้อมูลในแกน X เช่น ลากตั้งแต่เซลล์ B3 ถึง B7

2. นำเม้าส์มาลากข้อมูลในแกน Y เช่น ลากตั้งแต่เซลล์ D3 ถึง D7 ต้องกดปุ่ม Ctrl + ลากเม้าส์

3. ด้านบนที่แถบเครื่องมือที่ 1 ให้คลิ๊กปุ่ม ตัวช่วยสร้างแผนภูมิ (ที่เป็นรูปกราฟแท่ง)

4. เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง ตัวช่วยสร้างแผนภูมิ ขั้น ที่ 1 จาก 4 – ชนิดแผนภูมิ

5. เครื่องจะถามทั้งหมด 4 ขั้นตอน ในขั้นตอนที่ 1 นี้เป็นการให้เราเลือกชนิดของกราฟที่เราต้องการสร้าง โดยด้านซ้าย คือ ชนิดของกราฟ มีทั้งกราฟ คอลัมน์ , กราฟแท่ง , กราฟเส้น , กราฟวงกลม เราก็คลิ๊ก ชนิดของกราฟที่เราต้องการลงไป ส่วนด้านขวาเป็นการเลือกแบบของกราฟ ว่าเราอยากได้กราฟแบบไหน เราก็คลิ๊กลงไป จากนั้น ด้านล่าง คลิ๊กที่ปุ่ม ถัดไป เพื่อไปสู่ขั้นตอนที่ 2

6. ในขั้นตอนที่ 2 เครื่องจะสร้างกราฟชนิดที่เราต้องการไว้ ตามที่เราลากข้อมูลแกน X และ Y ซึ่งในหน้าต่างขั้นที่ 2 นี้เราไม่ต้องทำอะไรเลย ให้ลงไปคลิ๊กที่ปุ่ม ถัดไป ด้านล่างได้เลย

7. ในหน้าต่างขั้นตอนที่ 3 นี้ จะเป็นการใส่สิ่งที่เครื่องไม่ได้ทำมาให้คือ

a. ด้านบนยังไม่มีคำอธิบายกราฟ วิธีใส่ก็คือ ด้านซ้ายให้คลิ๊กที่ช่อง ชื่อแผนภูมิ จะมีเคอร์เซอร์ เราก็พิมพ์ลงไป เช่น กราฟแสดงเงินเดือน (เมื่อพิมพ์เสร็จนั่งสักพัก เครื่องจะไปใส่ในกราฟด้านขวาให้เราเอง โดยไม่ต้องกดปุ่ม Enter)

b. ในกราฟแต่ละแท่งเครื่องยังไม่ได้บอกค่าว่าแต่ละแท่งมีค่าเท่าไหร่ วิธีการให้เครื่องแสดงค่าออกมาคือ ด้านบน ให้คลิ๊กที่หัวข้อ ป้ายชื่อข้อมูล และด้านซ้าย คลิ๊กที่ช่อง แสดงค่า


เสร็จแล้วด้านล่าง ให้คลิ๊กที่ปุ่ม ถัดไป เพื่อไปยังขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนสุดท้าย

8. ในขั้นตอนที่ 4 ให้คลิ๊กที่คำว่า เป็นแผ่นงานใหม่ แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม เสร็จสิ้น เครื่องก็จะสร้างกราฟเสร็จเรียบร้อยตามที่เราต้องการ


การตกแต่งกราฟ

1. ถ้าต้องการเปลี่ยนสีของแท่งกราฟ


a. คลิ๊กที่แท่งแรกของกราฟ (จะขึ้นจุดสี่เหลี่ยมสีดำ แต่จะขึ้นทุกแท่ง) ให้คลิ๊กที่แท่งแรกของกราฟอีกครั้งนึง (จะขึ้นจุดสี่เหลี่ยมสีดำ ที่แท่งแรกเท่านั้น)


b. ให้นำเม้าส์วางที่แท่งแรกเหมือนเดิม แล้ว ดับเบิ้ลคลิ๊ก


c. จะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบจุดข้อมูล


d. คลิ๊กที่ช่องตารางสีที่เราต้องการจะเปลี่ยน


e. ด้านล่างคลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง


f. จากนั้น ก็เลื่อนเม้าส์ไปวางแท่งที่ 2 แล้วดับเบิ้ลคลิ๊กได้เลย เปลี่ยนสีจนครบ


2. ถ้าต้องการเปลี่ยนสีที่ด้านหลังของแท่ง


a. เลื่อนเม้าส์ไปวางที่ด้านหลังของแท่ง (จะมีคำขึ้นมาว่า ผนัง)


b. ดับเบิ้ลคลิ๊กสองที


c. จะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบจุดข้อมูล ตรงนี้ถ้าเราอยากได้ สีผสมของเครื่องให้คลิ๊กที่ปุ่ม เติมลักษณะพิเศษ จะขึ้นหน้าต่าง การเติมลักษณะพิเศษ ขึ้นมาอีกหน้าต่าง จากนั้น ให้คลิ๊กที่คำว่า สีที่กำหนดไว้ ด้านขวาจะมีช่อง สีที่กำหนดไว้ เพิ่มขึ้นมา ในแถบจะมีคำว่า ก่อนอาทิตย์ตก แล้วด้านล่างจะมีสีตัวอย่างว่า ก่อนอาทิตย์ตก มีแบบไหนบ้าง ถ้ายังไม่ถูกใจ ให้คลิ๊กที่ปุ่ม สามเหลี่ยมด้านหลัง จะมีชื่อสีสำเร็จรูปต่าง ๆ เราก็คลิ๊กไป แล้วด้านล่าง จะแสดงสีของชื่อนั้น ถ้าเราถูกใจ ด้านขวาให้คลิ๊กที่ปุ่ม ตกลง เครื่องจะกลับมาที่หน้าต่าง แรก ให้เราคลิ๊กปุ่ม ตกลงด้านล่างอีกทีเครื่องก็จะใส่สีของผนังที่เราเลือกไว้


d. ถ้าเราต้องการจะเปลี่ยนสีของฐานของแท่ง ก็ทำเหมือนกัน คือ ให้เม้าส์ชี้ที่ด้านล่างระหว่างแท่ง เครื่องจะขึ้นคำว่า พื้น จากนั้นก็ดับเบิ้ลคลิ๊กทำตามขั้นตอนด้านบนอีกที


3. ถ้าต้องการเปลี่ยนสีด้านนอกของกราฟ


a. ให้เลื่อนเม้าส์ไปวางตรงมุมบนขวาภายนอกของกราฟ จะขึ้นคำว่า พื้นที่แผนภูมิ


b. ดับเบิ้ลคลิ๊กสองที จะขึ้นหน้าต่าง จัดรูปแบบพื้นที่แผนภูมิ


c. ลงมาคลิ๊กที่ปุ่ม เติมลักษณะพิเศษ จะขึ้นหน้าต่างซ้อนขึ้นมา ชื่อว่า เติมลักษณะพิเศษ


d. ด้านบน คลิ๊กที่หัวข้อ พื้นผิว เครื่องจะขึ้นพื้นผิวต่าง ๆ ให้เราเลือก เมื่อเลือกเสร็จแล้ว ให้คลิ๊กที่ปุ่ม ตกลงด้านขวามือ เครื่องจะกลับมาที่หน้าต่างแรก ด้านล่างให้คลิ๊กที่ปุ่ม ตกลงอีกที

จริยธรรมและความปลอดภัย

เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่จำเป็นต้องพิจารณา รวมทั้งเรื่องความปลอดภัย ของระบบสารสนเทศการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หากไม่มีกรอบจริยธรรมกำกับไว้แล้ว สังคมย่อมจะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาไม่สิ้นสุด รวมทั้งปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้วย ดังนั้นหน่วยงานที่ใช้ระบบสารสนเทศจึงจำเป็นต้องสร้างระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว

ประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรม
คำจำกัดความของจริยธรรมมีอยู่มากมาย เช่น “หลักของศีลธรรมใ นแต่ละวิชาชีพเฉพาะ”
“มาตรฐานของการประพฤติปฏิบัติในวิชาชีพที่ได้รับ” “ข้อตกลงกันในหมู่ประชาชนในการกระทำสิ่งที่ถูก และหลีกเลี่ยงการกระทำสิ่งที่ผิด” หรืออาจสรุปได้ว่า จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักของความถูกและความผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ

กรอบความคิดเรื่องจริยธรรม
หลักปรัชญาเกี่ยวกับจริยธรรม มีดังนี้ (Laudon & Laudon, 1999)
R.O. Mason และคณะ ได้จำแนกประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น 4 ประเภทคือ ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ความเป็นเจ้าของ (Property) และความสามารถในการเข้าถึงได้ (Accessibility) (O’Brien, 1999: 675; Turban, et al., 2001: 512)
1) ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy) คือ การเก็บรวบรวม การเก็บรักษา และการเผยแพร่ ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับปัจเจกบุคคล
2) ประเด็นความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ได้แก่ ความถูกต้องแม่นยำของการเก็บรวบรวมและวิธีการปฏิบัติกับข้อมูลสารสนเทศ
3) ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Property) คือ กรรมสิทธิ์และมูลค่าของข้อมูลสารสนเทศ (ทรัพย์สินทางปัญญา)
4) ประเด็นของความเข้าถึงได้ (Accessibility) คือ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้และการจ่ายค่าธรรมเนียมในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ

การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy)

ความเป็นส่วนตัวของบุคคลต้องได้ดุลกับความต้องการของสังคม
สิทธิของสาธารณชนอยู่เหนือสิทธิความเป็นส่วนตัวของปัจเจกชน
การคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยปัจเจกชน หรือนิติบุคคล ซึ่งอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายความลับทางการค้า และกฎหมายสิทธิบัตร
ลิขสิทธิ์ (copyright) ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หมายถึง สิทธิ์แต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ซึ่งเป็นสิทธิ์ในการป้องกันการคัดลอกหรือทำซ้ำในงานเขียน งานศิลป์ หรืองานด้านศิลปะอื่น ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวลิขสิทธิ์ทั่วไป มีอายุห้าสิบปีนับแต่งานได้สร้างสรรค์ขึ้น หรือนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีอายุเพียง 28 ปี
สิทธิบัตร (patent) ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยสิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุยี่สิบปีนับแต่วันขอรับสิทธิบัตร ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะคุ้มครองเพียง 17 ปี

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์อาศัยความรู้ในการใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น โดยสามารถทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาลมากกว่าการปล้นธนาคารเสียอีก นอกจากนี้อาชญากรรมประเภทนี้ยากที่จะป้องกัน และบางครั้งผู้ได้รับความเสียหายอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ

เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องประกอบอาชญากรรม
เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเป้าหมายของอาชญากรรม
การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกกฎหมาย
การเปลี่ยนแปลงและการทำลายข้อมูล
การขโมยข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือ
การสแกมทางคอมพิวเตอร์ (computer-related scams)
การรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์
การควบคุมที่มีประสิทธิผลจะทำให้ระบบสารสนเทศมีความปลอดภัยและยังช่วยลดข้อผิดพลาด การฉ้อฉล และการทำลายระบบสารสนเทศที่มีการเชื่อมโยงเป็นระบบอินเทอร์เน็ตด้วย ระบบการควบคุมที่สำคัญมี 3 ประการ คือ การควบคุมระบบสารสนเทศ การควบคุมกระบวนการทำงาน และการควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก (O’Brien, 1999: 656)

การควบคุมระบบสารสนเทศ (Information System Controls)

การควบคุมอินพุท
การควบคุมการประมวลผล
การควบฮาร์ดแวร์ (Hardware Controls)
การควบคุมซอฟท์แวร์ (Software Controls)
การควบคุมเอาท์พุท (Output Controls)
การควบคุมความจำสำรอง (Storage Controls)
การควบคุมกระบวนการทำงาน (Procedural Controls)

การมีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน และมีคู่มือ
การอนุมัติเพื่อพัฒนาระบบ
แผนการป้องกันการเสียหาย
ระบบการตรวจสอบระบบสารสนเทศ (Auditing Information Systems)
การควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น (Facility Controls)

ความปลอดภัยทางเครือข่าย (Network Security)
การแปลงรหัส (Encryption)
กำแพงไฟ (Fire Walls)
การป้องกันทางกายภาพ (Physical Protection Controls)
การควบคุมด้านชีวภาพ (Biometric Control)
การควบคุมความล้มเหลวของระบบ (Computer Failure Controls)

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ภาษาโปรแกรม คือวิธีการมาตรฐานในการสื่อสารสำหรับแสดงคำสั่งไปยังคอมพิวเตอร์
ภาษาโปรแกรมกำหนดไวยากรณ์และการตีความหมายจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้น
ภาษาโปรแกรมทำให้โปรแกรมเมอร์สามารถระบุอย่างชัดเจนถึงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์จะทำงาน
และวิธีการที่คอมพิวเตอร์จะประมวลผลข้อมูลเหล่านั้น

การพัฒนาโปรแกรม

2.2 ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม
ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมประกอบด้วย

การวิเคราะห์ปัญหา
การออกแบบโปรแกรม
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
การทำเอกสารประกอบโปรแกรม
การบำรุงรักษาโปรแกรม
การวิเคราะห์ปัญหา
การวิเคราะห์ปัญหา ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

กำหนดวัตถุประสงค์ของงาน เพื่อพิจารณาว่าโปรแกรมต้องทำการประมวลผลอะไรบ้าง
พิจารณาข้อมูลนำเข้า เพื่อให้ทราบว่าจะต้องนำข้อมูลอะไรเข้าคอมพิวเตอร์ ข้อมูลมีคุณสมบัติเป็นอย่างไร ตลอดจนถึงลักษณะและรูปแบบของข้อมูลที่จะนำเข้า
พิจารณาการประมวลผล เพื่อให้ทราบว่าโปรแกรมมีขั้นตอนการประมวลผลอย่างไรและมีเงื่อนไปการประมวลผลอะไรบ้าง
พิจารณาข้อสนเทศนำออก เพื่อให้ทราบว่ามีข้อสนเทศอะไรที่จะแสดง ตลอดจนรูปแบบและสื่อที่จะใช้ในการแสดงผล
การออกแบบโปรแกรม
การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเป็นขั้นตอนที่ใช้เป็นแนวทางในการลงรหัสโปรแกรม ผู้ออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมอาจใช้เครื่องมือต่างๆ ช่วยในการออกแบบ อาทิเช่น คำสั่งลำลอง (Pseudocode) หรือ ผังงาน (Flow chart) การออกแบบโปรแกรมนั้นไม่ต้องพะวงกับรูปแบบคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ แต่ให้มุ่งความสนใจไปที่ลำดับขั้นตอนในการประมวลผลของโปรแกรมเท่านั้น

การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
การเขียนโปรแกรมเป็นการนำเอาผลลัพธ์ของการออกแบบโปรแกรม มาเปลี่ยนเป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องให้ความสนใจต่อรูปแบบคำสั่งและกฎเกณฑ์ของภาษาที่ใช้เพื่อให้การประมวลผลเป็นไปตามผลลัพธ์ที่ได้ออกแบบไว้ นอกจากนั้นผู้เขียนโปรแกรมควรแทรกคำอธิบายการทำงานต่างๆ ลงในโปรแกรมเพื่อให้โปรแกรมนั้นมีความกระจ่างชัดและง่ายต่อการตรวจสอบและโปรแกรมนี้ยังใช้เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบ

การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
การทดสอบโปรแกรมเป็นการนำโปรแกรมที่ลงรหัสแล้วเข้าคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบรูปแบบกฎเกณฑ์ของภาษา และผลการทำงานของโปรแกรมนั้น ถ้าพบว่ายังไม่ถูกก็แก้ไขให้ถูกต้องต่อไป ขั้นตอนการทดสอบและแก้ไขโปรแกรม อาจแบ่งได้เป็น 3 ขั้น

สร้างแฟ้มเก็บโปรแกรมซึ่งส่วนใหญ่นิยมนำโปรแกรมเข้าผ่านทางแป้นพิมพ์โดยใช้โปรแกรมประมวลคำ
ใช้ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์แปลโปรแกรมที่สร้างขึ้นเป็นภาษาเครื่อง โดยระหว่างการแปลจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบและกฎเกณฑ์ในการใช้ภาษา ถ้าคำสั่งใดมีรูปแบบไม่ถูกต้องก็จะแสดงข้อผิดพลาดออกมาเพื่อให้ผู้เขียนนำไปแก้ไขต่อไป ถ้าไม่มีข้อผิดพลาด เราจะได้โปรแกรมภาษาเครื่องที่สามารถให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้
ตรวจสอบความถูกต้องของการประมวลผลของโปรแกรม โปรแกรมที่ถูกต้องตามรูปแบบและกฎเกณฑ์ของภาษา แต่อาจให้ผลลัพธ์ของการประมวลผลไม่ถูกต้องก็ได้ ดังนั้นผู้เขียนโปรแกรมจำเป็นต้องตรวจสอบว่าโปรแกรมประมวลผลถูกต้องตามต้องการหรือไม่ วิธีการหนึ่งก็คือ สมมติข้อมูลตัวแทนจากข้อมูลจริงนำไปให้โปรแกรมประมวลผลแล้วตรวจสอบผลลัพธ์ว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าพบว่าไม่ถูกต้องก็ต้องดำเนินการแก้ไขโปรแกรมต่อไป การสมมติข้อมูลตัวแทนเพื่อการทดสอบเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ลักษณะของข้อมูลตัวแทนที่ดีควรจะสมมติทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิดพลาด เพื่อทดสอบว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารถครอบคลุมการปฏิบัติงานในเงื่อนไขต่างๆ ได้ครบถ้วน นอกจากนี้อาจตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมด้วยการสมมติตัวเองเป็นคอมพิวเตอร์ทีจะประมวลผล แล้วทำตามคำสั่งทีละคำสั่งของโปรแกรมนั้นๆ วิธีการนี้อาจทำได้ยากถ้าโปรแกรมมีขนาดใหญ่ หรือมีการประมวลผลที่ซับซ้อน
การทำเอกสารประกอบโปรแกรม
การทำเอกสารประกอบโปรแกรมเป็นงานที่สำคัญของการพัฒนาโปรแกรม เอกสารประกอบโปรแกรมช่วยให้ผู้ใช้โปรแกรมเข้าใจวัตถุประสงค์ ข้อมูลที่จะต้องใช้กับโปรแกรม ตลอดจนผลลัพธ์ที่จะได้จากโปรแกรม การทำโปรแกรมทุกโปรแกรมจึงควรต้องทำเอกสารกำกับ เพื่อใช้สำหรับการอ้างอิงเมื่อจะใช้งานโปรแกรมและเมื่อต้องการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรม เอกสารประกอบโปรแกรมที่จัดทำ ควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

วัตถุประสงค์
ประเภทและชนิดของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ใช้ในโปรแกรม
วิธีการใช้โปรแกรม
แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบโปรแกรม
รายละเอียดโปรแกรม
ข้อมูลตัวแทนที่ใช้ทดสอบ
ผลลัพธ์ของการทดสอบ
การบำรุงรักษาโปรแกรม
เมี่อโปรแกรมผ่านการตรวจสอบตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว และถูกนำมาให้ผู้ใช้ได้ใช้งาน ในช่วงแรกผู้ใช้อาจจะยังไม่คุ้นเคยก็อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาบ้าง ดังนั้นจึงต้องมีผู้คอยควบคุมดูแลและคอยตรวจสอบการทำงาน การบำรุงรักษาโปรแกรมจึงเป็นขั้นตอนที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องคอยเฝ้าดูและหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมในระหว่างที่ผู้ใช้ใช้งานโปรแกรม และปรับปรุงโปรแกรมเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น หรือในการใช้งานโปรแกรมไปนานๆ ผู้ใช้อาจต้องการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบงานเดิมเพื่อให้เหมาะกับเหตุการณ์ นักเขียนโปรแกรมก็จะต้องคอยปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมตามความต้องการของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง

การพัฒนาระบบสารสนเทศ

การพัฒนาระบบสารสนเทศ

ความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศ

1. การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน ระบบเดิมไม่สามารถให้ข้อมูลหรือทำงานได้ตามต้องการ มีการดำเนินงานหลายขึ้นตอน ยุ่งยากในการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำข้อมูลสรุปสำหรับการติดตามการปฏิบัติงานโดยรวมขององค์การ จึงจำเป็นต้องพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยให้ขั้นตอนการปฏิบัติงานภายในและกระบวนการบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในระบบสารสนเทศปัจจุบันล้าสมัย ค่าช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบมีราคาสูง จึงต้องรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานที่มีอยู่เดิม

3. การปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

- ระบบที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ขนาดเอกสารอ้างอิงหรือเอกสารที่มีอยู่ไม่ได้มารตรฐาน ทำให้การปรับปรุงหรือแก้ไขทำได้ยาก

- ความต้องการปรับองค์การให้เหมาะสมเพื่อสามารตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

- ระบบปัจจุบันไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้

การพัฒนาระบบประกอบด้วย

1) กระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และขั้นตอนการดำเนินธุรกิจขององค์การ

- การปรับปรุงคุณภาพ

- การติดตามความล้มเหลวจากการดำเนินงาน

- การปรับค่าตอบแทนของพนักงานโดยใช้การปรับปรุงคุณภาพเป็นดัชนี

- การค้นหาและแก้ไขสาเหตุที่แท้จริงของความล้มเหลว

2) บุคลากร (People)

3) วิธีการและเทคนิค (Methodology and Technique) การเลือกใช้วิธีการและเทคนิคที่เหมาะสมกับลักษณะของระบบเป็นสิ่งสำคัญ

4) เทคโนโลยี (Technology) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความเหมาะสมกับลักษณะขอบเขตของระบบสารสนเทศแล ะงบประมาณที่กำหนด

5) งบประมาณ (Budget)

6) ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์การ (Infrastructure)

7) การบริหารโครงการ (Project Management)



ทีมงานพัฒนาระบบ

การพัฒนา IT เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบกระบวนการพัฒนาระบบหลายกลุ่ม โดยทั่วไปจะมีการทำงานเป็นทีมที่ต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ และทักษะจากกลุ่มบุคคล

1) คณะกรรมการ (Steering Committee)

2) ผู้บริหารโครงการ (Project Manager)

3) ผู้บริหารหน่วยงานด้านสารสนเทศ (MIS Manager)

4) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) ควรมีทักษะในด้านต่างๆ คือ

- ทักษะด้านเทคนิค

- ทักษะด้านการวิเคราะห์

- ทักษะดานการบริหารจัดการ

- ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร

5) ผู้ชำนาญการทางด้านเทคนิค

- ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA)

- โปรแกรมเมอร์ (Programmer)

6) ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป (User and Manager)


ระบบเลขฐานและตรรกศาสตร์

ระบบเลขฐาน

เลขฐาน หมายถึงกลุ่มข้อมูลที่มีจำนวนหลัก (Digit) ตามชื่อของฐาน
นั้นๆเช่น เลขฐานสอง ฐานแปด และฐานสิบ ประกอบด้วยข้อมูลตัวเลขจำนวนสองหลัก (0-1) แปดหลัก (0-7) และสิบหลัก (0-9) ตามลำดับ ดังรูปในตารางที่ 1
ในระบบคอมพิวเตอร์มีการใช้ระบบเลขฐาน 4 แบบ ประกอบด้วย
1).เลขฐานสอง (Binary Number)
2).เลขฐานแปด (Octal Number)
3).เลขฐานสิบ (Decimal Number)
4).เลขฐานสิบหก (Hexadecimal Number)
1).เลขฐานสอง

คือตัวเลขที่มีค่าไม่ซ้ำกันสองหลัก ( 0 และ 1) เป็นเลขฐานเดียวที่เข้ากันได้กับ Hardware ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง เพราะการใช้เลขฐานอื่น จะสร้างความยุ่งยากให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างมาก เช่น เลขฐานสิบมีตัวเลขที่เป็นสถานะที่ต่างกันถึง 10 ตัว ในขณะที่ระบบไฟฟ้ามีเพียง 2 สถานะ ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งๆมีเพียงสถานะเดียวเท่านั้น แต่ละหลักของเลขฐานสอง เรียกว่า Binary Digit (BIT)

2).เลขฐานแปด

เลขฐานแปด มีความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง คือ เลขฐานสองจำนวน 3 หลัก แทนด้วยเลข
ฐานแปด 1 หลัก ดังนั้นเราจึงสามารถเขียนเลขฐานสอง 6 บิท แทนด้วยเลขฐานแปด 2 บิท การใช้เลขฐานแปดแทนเลขฐานสองทำให้จำนวนบิทสั้นลง

3).เลขฐานสิบ

คือตัวเลขที่มีค่าไม่ซ้ำกันสิบหลัก (0,1,2,…,9) เป็นเลขฐานที่มนุษย์คุ้นเคยและใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด ตัวเลขที่มีจำนวนมากกว่า 9 ให้ใช้ 10 ซึ่งเป็นการกลับไปใช้เลข 1 และ 0 อีก เพียงแต่ค่าของ 1 เปลี่ยนไปเป็น 10 เท่าของตัวมันเอง เช่น 333 (สามร้อยสามสิบสาม) แม้จะใช้ตัวเลข 3 ทั้งหมด แต่ตำแหน่งของตัวเลขย่อมมีความหมายตามตำแหน่งของแต่ละหลักนั้น กล่าวคือ หลักหน่วยน้อยกว่าหลักสิบ 10 เท่า หลักสิบน้อยกว่าหลักร้อย 10 เท่า ตามลำดับ

4).เลขฐานสิบหก

เลขฐานสิบหก มีความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง คือ เลขฐานสองจำนวน 4 หลัก แทนด้วย
เลขฐานสิบหก 1 หลัก ดังนั้นเราจึงสามารถเขียนเลขฐานสอง 8 บิทแทนด้วยเลขฐานสิบหก 2 บิท การใช้เลขฐานสิบหกแทนเลขฐานสองทำให้จำนวนบิทสั้นลง
การเปลี่ยนฐานเลข (Base Number Conversion)

เนื่องจากตัวเลขในแต่ละฐานมี ค่าคงที่เฉพาะ ในแต่ละหลักของตัวเอง เช่นตัวเลข 100 มีค่าเท่ากับหนึ่งร้อยในระบบเลขฐานสิบ แต่ตัวเลข 100 ในระบบ
เลขฐานสอง (อ่านว่า หนึ่ง-ศูนย์-หนึ่ง) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 4 เป็นต้น ดังนั้น จึงไม่สามารถนำค่าของเลขฐานใดๆ ไปคำนวณเปรียบเทียบ กับเลขฐานอื่นได้โดยตรง
เมื่อต้องการคำนวณหรือเปรียบเทียบตัวเลข (ประมวลผล) จำเป็นต้องเปลี่ยนฐานเลขเหล่านั้นให้เป็นฐานเดียวกันก่อน การเปลี่ยนฐานเลขสามารถกระทำได้
หลายวิธี ในหน่วยเรียนนี้จะใช้วิธีที่สะดวกที่สุดวิธีหนึ่ง ดังนี้
ก่อนเปลี่ยนฐานเลขใดๆ จำเป็นต้องทราบค่าคง ที่เฉพาะในแต่ละหลักของเลขฐานสองดังนี้

โมบายหลอดกาแฟ

การทำชิ้นงานศิลปะประดิษฐ์บางชนิดไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนมาก งานประดิษฐ์บางชนิดเราสามารถนำวัสดุและวัตถุดิบที่มีอยู่ใกล้ตัว หาได้ง่าย ราคาไม่แพง มาใช้ผลิตเป็นชิ้นงานขายได้ อย่างเช่นงานประดิษฐ์ โมบายแขวนจากหลอดกาแฟ หลากสีสัน ที่ก็เป็นอีกหนึ่ง ช่องทางทำกิน ได้

บุญสืบ ฟักน่วม เจ้าของชิ้นงานนี้เล่าว่า ยึดอาชีพผลิต โมบายแขวนจากหลอดกาแฟ ขายมานานกว่า 15 ปีแล้ว ซึ่งพัฒนามาจากงานเครื่องแขวนหรือโมบายที่ใช้วัตถุดิบในการทำจากเปลือกหอย โดยจากเดิมที่คิดแค่จะทำเป็นอาชีพเสริมในยามว่าง ต่อมาก็หันมายึดอาชีพนี้ทำอย่างจริงจังเพื่อส่งขายให้กับลูกค้าเพื่อนำไป จำหน่ายต่ออีกทีหนึ่ง เหตุที่สนใจเพราะมองว่าเป็นงานที่สามารถหัดทำได้ไม่ยาก อีกทั้งวัตถุดิบหาได้ง่าย ใช้เงินลงทุนเกี่ยวกับอุปกรณ์ไม่สูงนัก โดยหัดทำด้วยตนเอง เริ่มจากรูปแบบง่าย ๆ เช่น พับเป็นรูปทรงดอกกุหลาบ พับเป็นดาว ต่อมาคิดว่าน่าจะสามารถนำมาพัฒนารูปแบบให้เป็นงานเครื่องแขวนหรือโมบายได้

ชิ้นงานที่ทำขึ้นนั้น เน้นที่งานเครื่องแขวนเป็นหลัก โดยมีรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ปลาตะเพียน ดาว เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังสามารถดัดแปลงทำเป็นพานพุ่มบายศรี หรือพานพุ่มสำหรับตั้งบูชา ได้อีกด้วย ปัจจุบันนอกจากผลิตเพื่อจำหน่ายเองแล้ว ก็ยังมีรายได้เสริมอีกทางจากการรับทำตามความต้องการของลูกค้าที่สั่งเฉพาะ อีกด้วย

รูปแบบที่เห็นก็พัฒนามาจากงานฝีมือที่นักเรียนส่วนใหญ่จะเคยหัดทำมาบ้างแล้ว เพียงแต่เอามาเพิ่มรูปแบบให้ละเอียดและซับซ้อนขึ้น มีการนำวัสดุอื่น ๆ เข้ามาตกแต่ง ทำให้ชิ้นงานดูสะดุดตา เจ้าของงานกล่าว

ทุนเบื้องต้นในการทำโมบายจากหลอดกาแฟนี้ ใช้ไม่มาก ประมาณ 1,000 บาท ส่วนทุนวัตถุดิบอยู่ที่ประมาณ 50% จากราคาขาย โดยโมบายหลอดกาแฟที่ทำขึ้นราคาขายเริ่มต้นอยู่ที่ชิ้นละ 99 บาท จนถึง 199 บาท สำหรับตลาดของสินค้า ส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าที่รับไปขายต่อตามตลาดนัด และตามแหล่งท่องเที่ยว

วัสดุอุปกรณ์ในการทำมีไม่มาก ประกอบด้วย เข็ม สำหรับร้อยเอ็น, เอ็นพลาสติก, กรรไกร, หลอดกาแฟ, ลูกปัดสี, กระดิ่ง และวัสดุตกแต่งอื่น ๆ ตามความต้องการ หรือตามจินตนาการ